Page 103 - kpiebook67039
P. 103
102 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
ความเชี่ยวชาญของบุคลากรยังเกี่ยวกับเทคนิคการใช้เกมและการน�าเล่นเกม ผู้แทน
จาก LY ได้ยกตัวอย่างปัญหาที่เผชิญในการใช้เกม Sim Democracy กับกลุ่มผู้เล่นกลุ่มใหญ่
นั่นคือการที่ผู้เล่นจ�านวนหนึ่งจะไม่มีส่วนร่วมกับเกม เพราะกลไกเกมได้ก�าหนดบทบาทของผู้เล่น
ไว้อย่างจ�ากัด เช่น การจ�ากัดให้ผู้เล่นจะต้องเข้ามาเป็นสมาชิกของแต่ละภาคส่วนที่เกมก�าหนด
ไว้แล้ว เพื่อแก้ปัญหานี้ผู้แทนจาก LY ได้ใช้การสร้างบทบาทใหม่ เช่น กรรมการการเลือกตั้ง
และนักข่าว/สื่อมวลชน เพื่อให้เกิดการกระจายบทบาท และเอื้อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมกับเกม
นอกจากนี้วิธีการนี้ยังเป็นการสร้างการเรียนรู้เรื่องบทบาทผู้ตรวจสอบ (Watchdog) ในการเลือกตั้ง
(เจ้าหน้าที่ LY, สัมภาษณ์, 1 ธันวาคม 2565) ในเรื่องการอธิบายกลไกเกม ผู้ให้สัมภาษณ์ได้ใช้
วิธีการอธิบายกลไกเกมไปพร้อม ๆ กับการลงมือเล่นเกม (ตัวแทนเยาวชน 1, สัมภาษณ์, 1 ธันวาคม
2565) วิธีการนี้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความซับซ้อนของกลไกเกมซึ่งหากผู้น�าเล่นเกมใช้เวลากับ
การอธิบายกลไกเกมและวิธีการเล่นเกมมากเกินไป ผู้เล่นก็มีแนวโน้มที่จะเบื่อและไม่อยาก
จะมีส่วนร่วมกับเกมมากนัก อนึ่งเพื่อให้ผู้ใช้เกมสามารถปรับปรุงวิธีการน�าเกมไปใช้อย่าง
มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อเล่นเกมจบแล้ว มีการใช้เวลาในการขอให้ผู้เล่นให้ผลสะท้อนกลับ
(Feedback) ว่าได้ความรู้อะไรจากเกม และมีอะไรที่ควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลง (ตัวแทนเยาวชน 1,
สัมภาษณ์, 1 ธันวาคม 2565)
เทคนิคอีกประการหนึ่งที่ผู้แทนจาก LY ได้ให้ข้อมูลคือการสร้างความสนุกสนาน
ระหว่างเล่นเกม จุดที่ส�าคัญ คือการสร้างบรรยากาศด้านอารมณ์ความรู้สึก (Mood and tone)
ก่อนการเล่นเกม ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพลง การเลือกหัวข้อพูดคุยที่น่าสนใจ ตลอดจนการท�ากิจกรรม
ละลายพฤติกรรม (Ice breaking) สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เล่นอยู่ในสภาวะที่พร้อมจะเข้าร่วมกิจกรรม
นอกจากนี้ ผู้แทนจาก LY ยังเน้นให้เห็นความส�าคัญเรื่องการจัดวางเกมให้เหมาะสมกับล�าดับกิจกรรม
กล่าวคือ พลวัตการเปลี่ยนผ่านจากกิจกรรมหนึ่งสู่อีกกิจกรรมหนึ่ง (Transitional dynamic)
จะต้องไม่ท�าให้เกิดการสะดุดในเรื่องอารมณ์ความรู้สึก กล่าวอีกแบบหนึ่ง ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้น
ก่อน ระหว่าง และหลังการเล่นเกม Sim Democracy จะต้องช่วยประคองความรู้สึกอยากเรียนรู้
และอยากมีส่วนร่วม สิ่งเหล่านี้จะย้อนกลับมาส่งเสริมในเรื่องความสนุกสนานจากการเล่นเกม
การถ่ายทอดองค์ความรู้
ผู้ให้สัมภาษณ์ได้เน้นเรื่องความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาทั้งที่ปรากฏชัดอยู่ใน
คู่มือ และที่ซ่อนอยู่ภายในกลไกเกม ซึ่งก็ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเช่นเดียวกันดังที่กล่าวมาแล้ว
อย่างไรก็ตาม การถ่ายทอดเนื้อหาที่มีประสิทธิภาพจะต้องเพิ่มมิติเรื่องการย่อยหลักการหรือ
คุณค่าที่เป็นนามธรรมให้สอดคล้องกับความเข้าใจของผู้เล่นในกลุ่มที่ต่างกัน ในกรณีของเกม
Sim Democracy สิ่งที่เป็นนามธรรม ได้แก่ หลักการเสรีนิยม การเป็นพลเมืองเข้มแข็ง