Page 104 - kpiebook67039
P. 104
103
การมีส่วนร่วมทางการเมือง สังคมเปิดกว้าง และการถกแถลงอภิปรายอย่างมีเหตุผล การถ่ายทอด
เนื้อหาสาระของประเด็นเหล่านี้น�ามาสู่การเคลื่อนที่ขององค์ความรู้ระหว่างสมาชิกภายในเครือข่าย
ในกรณีของ LY การเลือกใช้องค์ความรู้ที่อยู่ในเกม Sim Democracy เกิดขึ้นภายใต้บริบทของ
พรรคเสรีนิยม เพราะฉะนั้นประเด็นที่อยู่ในนโยบายพรรค หรือแนวทางที่พรรคสนับสนุนจะถูก
ขยายความในการเล่นเกม และพยายามที่จะน�าแนวคิดนี้สื่อสารผ่านเกมออกไปสู่ผู้เล่นเกมและ
เครือข่ายในระดับที่กว้างขึ้น นอกจากนี้ จากการสัมภาษณ์ พบว่าการใช้เกม Sim Democracy
กับนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจะเป็นการถกเถียงในหลักการประชาธิปไตย การถกเถียง
มีความลึกที่แตะในระดับนามธรรม และมีการพูดถึงระบอบประชาธิปไตยในอุดมคติ ผู้ให้สัมภาษณ์
ใช้ค�าว่า “Perfect democracy” (เจ้าหน้าที่ LY, สัมภาษณ์, 1 ธันวาคม 2565) เพราะฉะนั้น
กลยุทธ์ของ LY ในการน�าเกม Sim Democracy ไปใช้กับเยาวชนในมหาวิทยาลัยจึงมีลักษณะ
เน้นเนื้อหาสาระและหลักการ (Content-based) ในทางกลับกัน การน�าเกมไปใช้กับเยาวชน
ในระดับมัธยมศึกษาในค่ายหรือกิจกรรมพบปะกลุ่มเป้าหมายเชิงรุกนอกสถานที่ (Outreach)
จะเน้นการใช้เกมในฐานะส่วนหนึ่งของกิจกรรมทั้งหมด (Activity-based) เพราะฉะนั้นเกมจะถูก
จัดวางให้สอดคล้องกับกิจกรรมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสันทนาการ หรือการให้ข้อมูลองค์กร ในกรณีนี้
การถ่ายทอดเนื้อหาของเกมจะไม่ได้เป็นเป้าหมายใหญ่เท่ากับการท�าให้ผู้เล่นคุ้นเคยกับองค์กร LY
ควรอภิปราย ณ ที่นี้ด้วยว่าองค์ความรู้หรือเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในเกม Sim Democracy
มีฐานคิดในเรื่องการลงหลักตั้งมั่นของสถาบันการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็น
เรื่องพรรคการเมืองมีความเป็นสถาบัน กลไกการตรวจสอบถ่วงดุลอ�านาจทางการเมืองระหว่าง
สถาบันการเมืองที่ส�าคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ มีประสิทธิภาพ
และการแข่งขันทางการเมืองเกิดขึ้นภายใต้ชุดกติกาที่เป็นประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ข้อมูล
จากการสัมภาษณ์สะท้อนให้เห็นว่าการน�าเกมไปใช้น�ามาสู่การตีความเนื้อหาที่อยู่ในเกมในบริบท
ทางการเมืองเฉพาะของประเทศนั้น ๆ ในกรณีของผู้เล่นในประเทศฟิลิปปินส์ ผู้เล่นได้อภิปราย
ถึงประเด็นเรื่องครอบครัว การทุจริต (Corruption) พฤติกรรมทางการเมืองของผู้เลือกตั้ง
ในชนบทหรือในเกาะที่ห่างไกลจากเมืองหลวง และปัญหาข่าวลวงทางการเมือง ในขณะที่เล่นเกม
ประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นร่วมสมัยที่เกิดขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ผู้ให้สัมภาษณ์
ยังยกตัวอย่างเรื่องประสบการณ์ของผู้เล่นที่สั่งสมจากสิ่งที่พบเจอในการเมืองท้องถิ่นที่ปรากฏ
ในการเล่นเกม กล่าวคือ เกม Sim Democracy มีกลไกในการสร้างถนนเพื่อที่จะสามารถเก็บ
ทรัพยากร เช่น งบประมาณ ไว้ในพื้นที่ของตนเอาไว้ได้ มีกรณีที่ผู้เล่นเกมในท้องถิ่นพยายาม
เจรจาต่อรองว่าหากอีกฝ่ายให้ถนนและทรัพยากรอื่น ๆ แก่ตน ตนจะตอบแทนด้วยการเลือกตั้ง
(เจ้าหน้าที่ LY, สัมภาษณ์, 1 ธันวาคม 2565) สิ่งนี้สะท้อนปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในบริบท
การเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ที่ (โปรดพิจารณาเพิ่มเติมใน You, 2015: 96-105)