Page 101 - kpiebook67039
P. 101

100     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy






                         กับเยาวชนที่มาร่วมกิจกรรมในขณะลงพื้นที่ของ LY ผู้ให้สัมภาษณ์ขยายความว่าได้มีการน�าเกม

                         Sim Democracy ไปใช้ในท้องถิ่น โดยที่เกมถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การสรรหาสมาชิก
                         พรรคการเมืองในระดับท้องถิ่น (Local chapter) (เจ้าหน้าที่ LY 1 และ 2, สัมภาษณ์, 1 ธันวาคม

                         2565) ในแง่นี้มิติด้านความเป็นพลเมืองที่อยู่ในกลไกเกมจึงช่วยเป็นสื่อในการสร้างประสบการณ์
                         ให้กับผู้เล่นว่าพลเมืองสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ และพรรคการเมืองมีส่วนสนับสนุน

                         ในการอ�านวยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงนั้น ความแตกต่างระหว่างกรณีของประเทศฟิลิปปินส์
                         และมาเลเซียในที่นี้คือเป้าหมายของการน�าเกมไปใช้ซึ่งท�าให้มีการวางกลยุทธ์ที่ต่างกัน กรณี

                         ของประเทศมาเลเซียเป็นการน�าเกมไปใช้ฝึกอบรมผู้สมัครของพรรคที่จะลงเลือกตั้ง ซึ่งเป็น
                         การใช้เกมเพื่อสร้างความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับการสนับสนุนพรรคการเมือง

                         ผ่านการเลือกตั้ง แต่กรณีของประเทศฟิลิปปินส์ กลยุทธ์การใช้เกมที่ให้น�้าหนักกับการมุ่งเน้น
                         การสรรหาบุคลากรทางการเมืองมาจากปัจจัยเชิงบริบทที่ผู้สมัครของแต่ละพรรคมีการย้าย

                         พรรคการเมืองบ่อยครั้ง (Turncoatism) (Quimpo, 2007: 277) ดังนั้นการจัดหลักสูตรฝึกอบรม
                         ผู้สมัครจึงไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสม (เจ้าหน้าที่ LY 1 และ 2, สัมภาษณ์, 1 ธันวาคม 2565)

                         เพราะการจะลงทุนกับผู้สมัครของพรรคย่อมมาพร้อมกับความคาดหวังว่าผู้สมัครจะซื่อสัตย์
                         ต่อพรรค จุดนี้สะท้อนให้เห็นว่าบริบททางการเมืองมีผลต่อการวางกลยุทธ์ในการใช้เกม

                         อย่างไรก็ตาม การถ่ายทอดและสื่อสารเนื้อหาสาระของเกมเป็นจุดเน้นของการน�าเกมไปใช้
                         กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมากกว่าการน�าไปใช้กับเยาวชนในขณะลงพื้นที่ซึ่งต้องเน้นการสร้าง

                         ความสนุกสนาน ท�าให้เกมถูกน�ามาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสันทนาการ นอกจากนี้กลยุทธ์
                         ยังสะท้อนมิติเครือข่ายระหว่างองค์กร โดยเจ้าหน้าที่ของ LY ได้พยายามท�าหน้าที่เป็นผู้บริหาร

                         จัดการเครือข่าย (Network broker) ในการน�าเกม Sim Democracy ไปขยายผลเพื่อให้เยาวชน
                         ในเครือข่ายน�าไปใช้ต่อ แต่ก็เผชิญข้อจ�ากัดเรื่องทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งจ�านวนบุคคล

                         ที่สามารถเป็นผู้น�าการเล่นเกม ในส่วนมิติทางสังคม จะพบว่าการถ่ายทอดเนื้อหาสาระของเกม
                         ในส่วนที่เป็นประเด็นทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นอย่างเปิดกว้าง ในส่วนต่อไป

                         จะเป็นการวิเคราะห์แต่ละมิติของกลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็น
                         พลเมืองโดย LY โดยครอบคลุมมิติภายในองค์กรและมิติเครือข่ายระหว่างองค์กร





                     5.5.2 มิติภายในองค์กร



                                 พันธกิจองค์กร


                                 พันธกิจหลักของ LY คือการสรรหาสมาชิกพรรค และการสื่อสารแนวความคิดเสรีนิยม
                         ประชาธิปไตยสู่สังคม เกม Sim Democracy ถูกน�ามาใช้โดย LY เนื่องจากเกมมีมิติที่สอดคล้อง
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106