Page 98 - kpiebook67039
P. 98

97







                                      ประเทศฟิลิปปินส์มีคณะกรรมการเยาวชนแห่งชาติ (National Youth Commission :

                             NYC) เป็นกลไกให้เยาวชนมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเป็นทางการ โดยตั้งขึ้นตามกฎหมาย
                             Youth in Nation-Building Act of 1995 มีภารกิจในการประสานงานเกี่ยวกับเยาวชนและ

                             นโยบายการพัฒนาเยาวชน และสนับสนุนให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของภาครัฐ
                             อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากลไกดังกล่าวจะเปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วม

                             ในการจัดท�านโยบายที่เกี่ยวข้องกับตน แต่ก็มีข้อวิจารณ์ต่อกลไกนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทุจริต
                             ภายในองค์กร และการที่กลไกนี้ถูกมองว่าไม่มีประสิทธิภาพ (Bautista, 2021)









                  5.3 บริบทของระบบการศึกษาโดยทั่วไป


                                      ควรกล่าวในเบื้องต้นก่อนว่าระบบการศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์ยังมีลักษณะ

                             รวมศูนย์ (Centralized) Basillote (2017) อธิบายว่าเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมรดกจากความกลัว
                             ที่การศึกษาจะถูกท�าให้เป็นการปลุกระดมทางการเมืองและมีผลต่อการเลือกตั้ง ในแง่การเรียน

                             การสอนด้านหน้าที่พลเมือง การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 2002
                             ได้มีการส่งเสริมให้ใช้เครื่องมือนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน และมีการน�าเสนอแนวคิด

                             เรื่อง ‘Makabayan’ ซึ่งเน้นการสร้างพลเมืองฟิลิปปินส์ที่ทั้งมีความรักชาติและปรับตัวเข้ากับ
                             โลกยุคโลกาภิวัตน์ได้ (Baildon et al., 2016: 106) แนวความคิดนี้จึงครอบคลุมทั้งเรื่อง

                             อัตลักษณ์ชาติและการท�าหน้าที่พลเมืองในด้านหนึ่ง และเรื่องการเป็นพลเมืองของโลกในอีกด้านหนึ่ง
                             การหลอมรวมทั้งสองเข้าด้วยกันก็จะเกิดหลักสูตรที่ท�าให้ผู้เรียนรักชาติอย่างสร้างสรรค์

                             (Constructive and healthy patriotism) โดยที่ไม่เป็นศัตรูกับโลกภายนอก (Bernardo &
                             Mendoza, 2009: 186) ทั้งนี้ กล่าวได้ว่า ‘Makabayan’ เป็นแนวคิดที่ต้องการให้ผู้เรียนมีทักษะ

                             ทางสังคม-วัฒนธรรม และการเมือง-เศรษฐกิจ’ (Mendoza & Nakayama, 2003: 15) ในเรื่อง
                             การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (Department of Education: DepEd)

                             ได้ส่งเสริมการใช้เกม Minecraft ในการเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านแอปพลิเคชัน (Hernando-
                             Malipot, 2022)
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103