Page 93 - kpiebook67039
P. 93

92     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy







             4.12 สรุปการวิเคราะห์กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกม


             เพื่อส่งเสริมทักษาะความเป็ นพลเมืองในกรณีประเทศ

             มาเลเซีย



                                 จากการศึกษากรณีของประเทศมาเลเซีย พบความแตกต่างที่น่าสนใจของแต่ละองค์กร

                         ที่น�าเกม Sim Democracy ไปใช้ ดังนี้


                                 ส�าหรับพรรคการเมือง พบว่าเป็นองค์กรที่มีทรัพยากรและความพร้อมในการจัด
                         กระบวนการเป็นอย่างมาก หากแต่จุดประสงค์ของการใช้งานคือการใช้เพื่อกิจการภายในหรือ

                         เพื่อการพัฒนาบุคลากรภายในพรรคการเมืองมากกว่าการเผยแพร่สู่สาธารณชน โดยมีรายละเอียด
                         ดังนี้ ประการแรก เกมถูกใช้เพื่อเสริมทักษะและความเป็นผู้น�า ให้ผู้เล่นซึมซับกลยุทธ์ในการด�าเนิน

                         กิจกรรมทางการเมือง และประการที่สอง กระจายองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นพลเมือง
                         ในระบอบประชาธิปไตยให้แก่บุคลากรภายในพรรค ให้เกิดเป็นความเข้าใจพื้นฐานที่ตรงกัน

                         อย่างไรก็ตามอย่างแรกได้รับความส�าคัญมากกว่าอย่างหลัง

                                 ในทางตรงกันข้าม องค์กรภาคประชาสังคมอย่าง Impact Malaysia ซึ่งมีจุดประสงค์

                         ในการเสริมพลังเยาวชนผ่านการให้ความรู้เรื่องพลเมือง และการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวก

                         ในสังคม คาดหมายจะน�าเกม Sim Democracy ไปใช้กับกลุ่มเยาวชน แต่กลับมีข้อจ�ากัดในเรื่อง
                         ของทรัพยากรและการใช้งานเครื่องมือใหม่ ๆ แม้ว่าพวกเขาจะมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน แต่ก็ยัง
                         เผชิญหน้ากับความยากล�าบากในการน�าเกมไปใช้ เนื่องจากไม่มีความเชี่ยวชาญในการใช้เกมดังกล่าว


                                 อนึ่งในส่วนของสถาบันการศึกษา คณะผู้วิจัยพบว่าบริบททางสังคมการเมืองของประเทศ

                         มาเลเซียที่มีฐานมาจากเรื่องชาติพันธุ์ ท�าให้ระบบการศึกษาและหลักสูตรเน้นหนักไปที่เรื่อง

                         ความสมัครสมานสามัคคีระหว่างชาติพันธุ์ และมีความระมัดระวังอย่างสูงที่จะไม่ท�าให้ประเด็น
                         ต่าง ๆ  รวมถึงเรื่องประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมทางการเมือง ถูกท�าให้เป็นเรื่องการเมือง
                         เกินไป (Over-politicization) ท�าให้กระบวนการเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย

                         และหน้าที่พลเมืองยังมีความจ�ากัด และกลายเป็นเรื่องของการอยู่ร่วมกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์

                         ที่กลมเกลียว ดังนั้น สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่จึงไม่เปิดรับสื่อการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับ
                         การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง กล่าวได้ว่านี่คืออุปสรรคของการน�าเกม Sim Democracy
                         ไปใช้ในสถาบันการศึกษาในประเทศมาเลเซีย ส่วนการอภิปรายเกี่ยวกับทักษะความเป็นพลเมือง

                         ก็จ�ากัดเพียงเรื่องกระบวนการการเลือกตั้ง ซึ่งบริบทดังกล่าวเป็นอุปสรรคส�าคัญในการเสริมสร้าง

                         ทักษะความเป็นพลเมือง
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98