Page 92 - kpiebook67039
P. 92

91







                             4.  ความเชื่อมโยงกับประสบการณ์ที่ผ่านมา (Relatability)

                                 ความสามารถในการยึดโยงสถานการณ์และบทบาทจ�าลองในเกมกับสภาพแวดล้อม

                                 ความเป็นจริงในสังคม หากผู้เล่นสามารถที่จะเข้าใจและรู้สึกได้ว่าสิ่งที่เผชิญในเกมนั้น
                                 มีความคล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้องกับบริบทในสังคมประจ�าวันที่ตนเองพบเจอ จะยิ่งท�าให้เกิด

                                 ผลลัพธ์ในทิศทางบวก ฉะนั้น บทบาทของผู้น�าการเล่นเกมจึงมีส่วนส�าคัญในการสร้างปัจจัยนี้
                                 ให้เกิดขึ้นในระหว่างการเล่นเกม


                             5.  มุมมองที่ก้าวข้ามความเป็นบอร์ดเกม (Boardgame beyond gaming)

                                 มุมมองต่อเกมที่ไม่ถูกจ�ากัดเพียงแค่เครื่องมือสันทนาการเป็นเรื่องส�าคัญ การน�าเกม
                                 Sim Democracy ไปใช้โดยประสบความส�าเร็จขึ้นอยู่กับนิยามเกมใหม่ให้พ้นไปจากการละเล่น

                                 แต่มองเกมในฐานะวิธีการให้ความรู้และเสริมพลังหรือศักยภาพผู้เล่น มุมมองใหม่ดังกล่าว
                                 จะช่วยไขกุญแจความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการน�าเกมไปใช้ ดังเช่นการน�าเกมมาใช้ฝึกฝน

                                 ผู้น�าพรรคการเมืองรุ่นใหม่ เป็นอาทิ






                  4.11 สังเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเล่นเกม

                  เมืองจ�าลองประชาธิปไตยกับความเป็ นพลเมือง



                                        จากกรณีศึกษาประเทศมาเลเซีย ข้อค้นพบส�าคัญ คือ เกม Sim Democracy ถูกน�า

                             ไปใช้เพื่อฝึกฝนผู้น�าในพรรคการเมือง เช่น ผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค ดังนั้น
                             เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับความเป็นพลเมืองจึงเป็นเรื่องรอง (Secondary) เรื่องหลักคือการวางแผน

                             เชิงกลยุทธ์ การก�าหนดนโยบาย การเจรจาต่อรอง และการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง นอกจากนี้
                             บุคลากรในพรรคการเมืองมิได้น�าเกมไปใช้ต่อเพื่อส่งเสริมเรื่องความเป็นพลเมือง และการมีส่วนร่วม

                             ทางการเมืองกับกลุ่มเป้าหมายอื่นนอกพรรค แตกต่างจากกรณีของประเทศไทยที่พรรคการเมือง
                             น�าเกมไปใช้เพื่อให้การศึกษาเกี่ยวกับพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยกับเด็กและเยาวชน


                                        ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากบริบทของการน�าเกมไปใช้ภายในพรรคการเมือง อาจตั้ง

                             ข้อสังเกตได้ว่าสมาชิกหรือผู้ที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้พื้นฐานทางการเมือง มีความตื่นตัวและ
                             มีความกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมทางการเมืองอยู่แล้ว ฉะนั้น กระบวนการน�าเกมมาใช้เพื่อ
                             การอบรมนั้นจึงเป็นการเสริมทักษะอื่น ๆ เพิ่มเติมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกความเป็นผู้น�า

                             และการบริหารจัดการประเทศภายใต้หลักการประชาธิปไตย ตลอดจนเป็นการพัฒนาทักษะ

                             การสื่อสารเรื่องความเป็นพลเมืองที่สามารถใช้ในระหว่างการลงสมัครรับเลือกตั้ง
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97