Page 89 - kpiebook67039
P. 89

88     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy







             4.7 มิติสังคม



                     4.7.1 ผู้ก�าหนดนโยบายระดับสูง (Policy elite) ในภาครัฐ
             และการสนับสนุนโดยภาครัฐ



                                 Impact Malaysia เป็นองค์กรที่มีขอบเขตการท�างานภายใต้กระทรวงกีฬาและกิจการ
                         เยาวชน ฉะนั้น การด�าเนินการขององค์กรที่จ�าเป็นจะต้องมีการรายงานกับทางกระทรวง (เนื่องด้วย

                         ความเกี่ยวข้องทางงบประมาณ) จึงกล่าวได้ว่ากิจกรรมน�าบอร์ดเกมมาใช้ที่ทางบุคลากรได้ท�า
                         การเสนอนั้นมีการรับรู้จากทางกระทรวง แม้จะไม่ได้มีการปฏิเสธหรือกีดกันในการจัดกิจกรรม

                         ทว่าก็ไม่ได้มีการสนับสนุนแบบเป็นพิเศษ เช่นเดียวกัน ในภาพกว้างระดับประเทศ พบว่าเริ่มเกิด
                         ความสนใจต่อวงการ E-sport ในปัจจุบัน โดยถูกมองว่าความสามารถในการสร้างผลกระทบทาง

                         บวกให้กับเศรษฐกิจ แต่การสนับสนุนอย่างเป็นทางการ ยังเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองในระยะยาว





                     4.7.2 ปทัสถานทางสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย
             องค์ความรู้



                                 ควรกล่าวก่อนว่าบริบทเฉพาะในเรื่องการจัดการศึกษาด้านหน้าที่พลเมืองให้กับเยาวชน
                         ในโรงเรียนในประเทศมาเลเซีย คือการจ�ากัดการให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวเพราะเกรงว่าจะบ่มเพาะ

                         ความขัดแย้งในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายบนฐานชาติพันธุ์สูง (รองประธานฝ่ายยุทธศาสตร์
                         และการพัฒนา, สัมภาษณ์, 28 พฤศจิกายน 2565) ในแง่นี้การแพร่กระจายองค์ความรู้ในเรื่อง

                         ทักษะความเป็นพลเมืองจึงมักจะจ�ากัดเฉพาะเรื่องกระบวนการเลือกตั้ง อนึ่ง หากพิจารณาสังคม
                         ในภาพรวม ผู้ให้สัมภาษณ์มองว่ามีกลุ่มผู้ใหญ่ที่เห็นว่าการโต้เถียงนั้นไม่ใช่วัฒนธรรมของมาเลเซีย

                         (เจ้าหน้าที่, สัมภาษณ์, 28 พฤศจิกายน 2565) ดังนั้น เป็นไปได้ว่าเกม Sim Democracy ที่มีกลไก
                         การส่งเสริมการอภิปรายอย่างเปิดกว้างอาจเผชิญกับข้อจ�ากัดเชิงวัฒนธรรมนี้


                                 กล่าวย�้าอีกครั้งหนึ่ง ในปัจจุบันการศึกษาเกี่ยวกับทักษะความเป็นพลเมืองคือการสอน

                         เกี่ยวกับการลงคะแนนเสียงที่อธิบายกระบวนการเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนนเสียง สิ่งที่ควรและ
                         ไม่ควรท�า แต่กลับไม่มีการพูดคุยถึงค่านิยมทางการเมือง อุดมการณ์ หรือหลักการทางประชาธิปไตย

                         อย่างตรงไปตรงมา ฉะนั้นแล้ว องค์กรภาคประชาสังคมจึงไม่สามารถด�าเนินกิจกรรมเกี่ยวกับทักษะ
                         ความเป็นพลเมืองในโรงเรียน


                                 นอกจากนี้ พบว่าการจ�ากัดการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับทักษะความเป็นพลเมืองไม่ใช่

                         อุปสรรคเดียวที่เกิดขึ้นในกรณีของประเทศมาเลเซีย แต่ความเหลื่อมล�้าในการเข้าถึงการศึกษา
                         ก็ยังเป็นปัจจัยส�าคัญ ผู้ให้สัมภาษณ์อธิบายว่า การเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ใหม่ ๆ ในชนบทและ
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94