Page 87 - kpiebook67039
P. 87
86 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
ที่จะหาช่องทางการเข้าถึงเครื่องมืออื่น ๆ และพร้อมที่จะเปิดรับค�าแนะน�าจากองค์กรอื่น ๆ
ที่มีประสบการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ แต่ประเด็นในเรื่องของทรัพยากร การเข้าถึง
และการสนับสนุนจากภาคส่วนอื่น ๆ ยังเป็นหนึ่งในปัจจัยส�าคัญที่ต้องค�านึงในการด�าเนินการ
4.6.4 ขีดความสามารถในการบริหารจัดการโครงการ
การวางแผนการน�าเกมสู่การปฏิบัติ
เนื่องจากทางองค์กรยังไม่ได้มีโอกาสในการน�าบอร์ดเกมมาปรับใช้กับกิจกรรม ทว่าจาก
การสัมภาษณ์ถึงการวางแผนในการน�าจัดกระบวนการเกม พบว่าทางองค์กรได้มีการเตรียมการ
เพื่อจะน�าเกมมาใช้ส�าหรับกลุ่มเป้าหมายจ�านวน 30 องค์กรในกิจกรรมของค่ายประชาธิปไตย
(Democracy camp) ภายในปี ค.ศ. 2023 ที่ผ่านมาทางองค์กรได้จัดกิจกรรมในรูปแบบทางการ
อาทิ การจัดอบรมสัมมนา ซึ่งไม่ได้เน้นความสนุกสนานมากนัก ฉะนั้นจึงต้องการที่จะผสาน
ความสนุกสนานและความรู้เข้าด้วยกันเพื่อให้ผู้เข้าร่วมนั้นได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเข้าร่วม
ผู้ให้สัมภาษณ์ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าในการวางแผนจัดกิจกรรมการใช้บอร์ดเกม
Sim Democracy จะเริ่มด้วยกิจกรรมละลายพฤติกรรม (Ice-breaking) พร้อมกับอธิบายบริบท
ของเกมและความเกี่ยวข้องกับประเด็นสังคมการเมือง เสร็จแล้วก็จะเข้าสู่การเล่นเกม จากนั้น
จะปิดกิจกรรมด้วยการสะท้อนความรู้สึกและความเข้าใจหลังการเล่นบอร์ดเกม หรือการถอด
บทเรียน (Debrief) ซึ่งขั้นตอนนี้ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่ การถอดบทเรียนรอบแรก ให้กลุ่มย่อย
นั่งสะท้อนความรู้สึกหลังเล่นเกม รู้สึกอย่างไร และการจ�าลองสถานการณ์นั้นเป็นอย่างไร
ในความคิดของพวกเขา และการถอดบทเรียนรอบที่สอง กลุ่มใหญ่หรือผู้เข้าร่วมทั้งหมดสะท้อน
สิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้าง ระบบ และกระบวนการของการเลือกตั้งกับ
ประชาธิปไตย (รองประธานฝ่ายยุทธศาสตร์และการพัฒนา, สัมภาษณ์, 28 พฤศจิกายน 2565)
น่าสนใจว่าวิธีคิดในการวางแผนการน�าเกม Sim Democracy ไปใช้คล้ายคลึงกับการน�าไปใช้
ในประเทศไทยที่จะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ก่อนเล่นเกม ระหว่างเล่นเกม และหลังเล่นเกม
สะท้อนให้เห็นว่าผู้ให้สัมภาษณ์มีความเข้าใจในวิธีการน�าเกมไปใช้ และตระหนักว่าจะต้องมี
การเพิ่มกิจกรรมและองค์ประกอบอื่นมาเสริมบอร์ดเกมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งไว้ มิใช่แค่
การเล่นเกมเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ผู้ให้สัมภาษณ์ย�้าถึงความส�าคัญของผู้น�ากระบวนการว่ามีบทบาท
เป็นอย่างมากในการกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมนั้นเกิดความรู้สึกสงสัย ใฝ่ใจอยากเรียนรู้ และสนใจ
ที่จะเข้าร่วมกิจกรรม (รองประธานฝ่ายยุทธศาสตร์และการพัฒนา, สัมภาษณ์, 28 พฤศจิกายน 2565)