Page 90 - kpiebook67039
P. 90
89
เขตเมืองนั้นมีช่องว่างเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ในพื้นที่นอกเขตเมือง การด�าเนินกิจกรรมต่าง ๆ
อาจติดขัดทั้งในเรื่องช่องว่างขององค์ความรู้และการสร้างเครือข่ายเพื่อน�าเกมไปใช้ต่อ (เจ้าหน้าที่
ฝึกอบรม, สัมภาษณ์, 28 พฤศจิกายน 2565)
อนึ่งผู้ให้สัมภาษณ์มองว่าการเปลี่ยนแปลงก�าลังเกิดขึ้น เขาเชื่อว่าในอีก 5 ปีหลังจากนี้
หลักสูตรภายในโรงเรียนจะมีการเปิดรับองค์ความรู้ด้านการเมืองมากยิ่งขึ้น หากเป็นเช่นนั้นเยาวชน
จะสามารถเข้าถึงการศึกษาเกี่ยวกับประชาธิปไตยและหน้าที่พลเมืองได้มากขึ้น ทั้งนี้ ในปัจจุบัน
เริ่มพบกลุ่มเยาวชนที่มีความตื่นตัวทางการเมืองด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้น และอาสาที่จะเข้ามามี
ส่วนร่วมทางการเมือง (อาทิ การสังเกตการณ์การเลือกตั้ง) แม้ว่าจะมีข้อจ�ากัดทางค่านิยมของสังคม
ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเป้าหมายในการจะน�าเกม Sim Democracy ไปใช้ในอนาคต (เจ้าหน้าที่
ฝึกอบรม, สัมภาษณ์, 28 พฤศจิกายน 2565)
4.8 มุมมองของสังคมต่อบอร์ดเกม
จากการสัมภาษณ์พบว่า เกมเริ่มเป็นที่สนใจภายในสังคม ทว่าภาพลักษณ์และมุมมอง
ในเชิงลบต่อการเล่นเกมยังคงมีอยู่ แต่การเกิดขึ้นของ E-sport ท�าให้ลดอคติลงไปบ้าง กระนั้นก็ตาม
เมื่อถามถึงบอร์ดเกม หรือเกมที่เกี่ยวข้องกับสังคมการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์มองว่าน่าจะไม่ได้รับ
ความสนใจเท่ากับ E-sport (เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม, สัมภาษณ์, 28 พฤศจิกายน 2565)
4.9 ข้อจ�ากัด
อุปสรรคและข้อจ�ากัดในการน�าเกม Sim Democracy มาใช้ในประเทศ
มาเลเซีย มีดังต่อไปนี้
การจ�ากัดการให้การศึกษาเรื่องหน้าที่พลเมืองในโรงเรียนไม่เอื้อให้เกิดการถ่ายทอด
องค์ความรู้เรื่องประชาธิปไตยและทักษะความเป็นพลเมือง ข้อจ�ากัดที่เกิดขึ้นท�าให้พรรคการเมือง
และองค์กรภาคประชาสังคมต้องระมัดระวังอย่างยิ่งในการสื่อสารในประเด็นดังกล่าวกับเยาวชน
ในสถานศึกษา ส�าหรับพรรคการเมือง เกม Sim Democracy จึงถูกน�าไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย
ที่เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค ส่วน Impact Malaysia ในฐานะองค์กรกึ่งภาคประชาสังคม
ก็มีการวางแผนจะน�าเกม Sim Democracy ไปใช้ แต่เน้นเรื่องการให้ความรู้ด้านกระบวนการ
เลือกตั้งเป็นส�าคัญ