Page 85 - kpiebook67039
P. 85

84     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy






                         องค์กร กับกลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของเกม Sim Democracy โดยผู้ให้สัมภาษณ์ได้อธิบาย

                         กับคณะผู้วิจัยว่าจุดประสงค์ที่ต้องการน�าบอร์ดเกมมาใช้ คือเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
                         กับกระบวนการเลือกตั้งและทักษะความเป็นพลเมืองให้แก่เยาวชน (รองประธานฝ่ายยุทธศาสตร์

                         และการพัฒนา, สัมภาษณ์, 28 พฤศจิกายน 2565)




                                 ผู้น�าทีมในองค์กร


                                 องค์กรให้อิสระแก่เจ้าหน้าที่ในการแสวงหา พัฒนา และออกแบบเครื่องมือในรูปแบบ
                         ต่าง ๆ เพื่อน�ามาปรับใช้และขับเคลื่อนพันธกิจขององค์กร โดยเฉพาะผู้บริหารและผู้น�าทีม

                         ที่เปิดโอกาส จากการสัมภาษณ์พบว่า เหตุผลส�าคัญที่ท�าให้องค์กรส่งเสริมการท�างานของเจ้าหน้าที่

                         คือช่วงอายุของกลุ่มผู้บริหารและผู้น�าทีม (เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม, สัมภาษณ์, 28 พฤศจิกายน 2565)
                         เมื่อกลุ่มผู้บริหารและผู้น�าทีมนั้นอยู่ในช่วงวัยที่อายุไม่มากนัก พวกเขาก็พร้อมที่จะเปิดรับทางเลือก
                         อื่น ๆ นวัตกรรมและกระบวนการใหม่ ๆ จึงเป็นที่ยอมรับ โดยเฉพาะนวัตกรรมที่ไม่น่าเบื่อ ตราบใด

                         ที่เนื้อหาและสารที่ทางองค์กรต้องการจะสื่อนั้นส่งไปถึงกลุ่มเป้าหมาย





                     4.6.3 การประกอบการเชิงความรู้



                                 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรและประสบการณ์ในการจัดกระบวนการ


                                 จากการสัมภาษณ์ พบว่าบุคลากรในองค์กรมีประสบการณ์ในการเป็นวิทยากรกระบวนการ
                         หรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้แก่เยาวชนเป็นจ�านวนมาก ผู้ให้สัมภาษณ์ให้ข้อมูลว่าในอดีต เคยจัด

                         กิจกรรมในรูปแบบของค่ายให้แก่เยาวชนจ�านวน 600 คน เป็นการเข้าค่าย 4 วัน โดยมีประเด็น
                         หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับมิติต่าง ๆ ของความเป็นพลเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งและสิทธิในการ

                         แสดงออกในสังคมที่มีความหลากหลาย หรือแม้แต่การจ�าลองสถานการณ์กระบวนการเลือกตั้ง
                         ในปี ค.ศ. 1969 ทว่าการน�าบอร์ดเกมมาใช้ยังเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ไม่เคยได้ทดลองน�ามาใช้

                         และบุคลากรในองค์กรยังไม่เคยผ่านการอบรมการใช้เกม Sim Democracy มาก่อน (รองประธาน
                         ฝ่ายยุทธศาสตร์และการพัฒนา, สัมภาษณ์, 28 พฤศจิกายน 2565;เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม, สัมภาษณ์,

                         28 พฤศจิกายน 2565)


                                 ที่ผ่านมาทางองค์กรเคยมีความพยายามที่จะน�าบอร์ดเกมมาใช้เป็นสื่อกลาง แต่เมื่อ
                         น�าบอร์ดเกมอื่นมาศึกษากลับพบปัญหาที่ว่า บอร์ดเกมทั่วไปมีเนื้อหาเพียงเพื่อความบันเทิง

                         แม้กระทั่งบอร์ดเกมที่เกี่ยวข้องกับสังคมและการเมืองก็มีการสะท้อนภาพสังคมในแง่ลบ หรือ
                         ในลักษณะที่ไม่เป็นมิตรต่อเยาวชน ในการนี้เมื่อองค์กรได้พบกับ Sim Democracy จึงได้ติดต่อ
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90