Page 83 - kpiebook67039
P. 83
82 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
การเคลื่อนที่ขององค์ความรู้ภายในเครือข่าย
เนื่องจากจุดประสงค์ในการใช้เกม Sim Democracy ของ พรรค PKR คือการจ�าลอง
สถานการณ์และพัฒนาทรัพยากรบุคคลในสมาชิกพรรค จึงไม่ได้มีการส่งต่อหรือน�า Sim Democracy
ไปใช้เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านประชาธิปไตยกับองค์กรอื่น ๆ หรือสาธารณะ เป็นการเคลื่อนตัว
ขององค์ความรู้แต่ภายในองค์กร
ความสามารถในการประสานงานภายในเครือข่าย
จากการสัมภาษณ์ พบว่าพรรค PKR มีการติดต่อกับมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทย
และมีการประสานงานในเรื่องการจัดหาบอร์ดเกม Sim Democracy ต่อมามีการน�าบอร์ดเกม
ดังกล่าวไปพัฒนาปรับปรุงให้สะท้อนบริบทของสังคมมาเลเซียเพิ่มมากขึ้นโดยความช่วยเหลือ
ส่วนหนึ่งจากเครือข่ายพรรคในประเทศ
4.6 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะ
ความเป็ นพลเมืองโดยองค์กรภาคประชาสังคม
4.6.1 ภาพรวมกลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริม
ทักษะความเป็นพลเมืองโดย Impact Malaysia
Impact Malaysia เป็นองค์กรกึ่งภาคประชาสังคมที่ให้ความส�าคัญกับบทบาทของ
เยาวชนเป็นหลัก โดยเชื่อว่าจะน�าไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาในประเทศมาเลเซียได้
Impact Malaysia เป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้ขอบเขตการท�างานของกระทรวงกีฬาและกิจการ
เยาวชน (Ministry of Youth and Sport) แม้ว่าบริบททางสังคมการเมืองของมาเลเซียจะยัง
ไม่เปิดกว้างต่อเยาวชนในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง แต่ Impact Malaysia ก็ยังพยายาม
ส่งเสริมให้เยาวชนมีความเข้าใจและซึมซับทักษะความเป็นพลเมือง โดยทางองค์กรได้พยายาม
เลือกเฟ้นคัดสรรกระบวนวิธี และเครื่องมือที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ มาปรับใช้เพื่อบรรลุเป้าหมาย
ดังกล่าว การวางแผนที่จะน�าเกม Sim Democracy มาใช้ก็เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจดังกล่าว
(รองประธานฝ่ายยุทธศาสตร์และการพัฒนา, สัมภาษณ์, 28 พฤศจิกายน 2565) ควรกล่าวไว้
ตั้งแต่ต้นว่าเกม Sim Democracy ยังไม่ได้ถูกน�ามาใช้ในกิจกรรมของ Impact Malaysia
แต่ผู้ให้สัมภาษณ์ก�าลังวางแผนจะน�าเกมดังกล่าวไปใช้ การสัมภาษณ์ในบริบทนี้จึงเน้นที่วิธีคิด
เชิงกลยุทธ์ที่จะน�าเกมไปใช้มากกว่าที่จะเป็นเรื่องประสบการณ์ที่ผ่านมาจากการใช้เกมจริง