Page 91 - kpiebook67039
P. 91
90 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
การใช้บอร์ดเกมเพื่อเสริมสร้างทักษะความเป็นพลเมืองยังจ�ากัดเฉพาะกลุ่ม ไม่มีการจัด
ฝึกอบรมผู้น�าการเล่นเกมเพื่อไปขยายผลต่อ และยังไม่พบการพัฒนาหรือต่อยอดเป็นเกมใหม่
กลไกของเกมมีความซับซ้อนและใช้เวลานานในการท�าความเข้าใจ หากไม่ได้รับการฝึก
อบรม ก็เป็นเรื่องยากที่บุคลากรในองค์กรจะสามารถท�าความเข้าใจกลไกเกมได้เอง และยิ่งยาก
ยิ่งกว่าหากจะต้องน�า Sim Democracy ไปเป็นหนึ่งในกระบวนการฝึกอบรมหากไม่ได้เข้าใจ
กลไกเกมอย่างลึกซึ้ง
4.10 ข้อเสนอในการปรับปรุงเกม Sim Democracy
จากการสัมภาษณ์ คณะผู้วิจัยสกัด 5 ข้อเสนอเพื่อการน�าเกม Sim Democracy มาใช้
ในกระบวนการเสริมทักษะความเป็นพลเมืองดังต่อไปนี้
1. กลไกของเกม (Game mechanism)
เห็นควรให้เพิ่มการจ�าลองบทบาทของตัวละคร และก�าหนดเป้าหมายใหม่ ๆ ให้แก่ตัวละคร
ที่ผู้เล่นได้รับมอบหมายบทบาทเพิ่มเติม การกระท�าเช่นนี้จะเพิ่มความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง
ของเกม กระตุ้นให้ผู้เล่นคิดในบริบทของตัวละครนั้น ๆ ส่งผลให้สามารถเข้าใจและมองภาพ
ของการเมืองในสังคมประชาธิปไตยได้ชัดยิ่งขึ้น
2. รูปแบบเฉพาะ (Tailor-made context)
เห็นควรที่จะปรับรูปแบบของเกมให้มีการสะท้อนบรรยากาศทางการเมืองของมาเลเซีย
โดยเฉพาะ อาทิ มาเลเซียให้ความส�าคัญในประเด็นสังคมพหุนิยม และการเมืองของชาติพันธุ์
ฉะนั้นรูปแบบการเล่น หรือสไตล์ในการด�าเนินกระบวนการจึงควรหยิบยกประเด็นเฉพาะนี้
มาสนทนากับผู้เล่น
3. ความส�าคัญของผู้น�าการเล่นเกม (Play coach)
การด�าเนินการระหว่างการเล่นเกมที่จะน�าไปสู่ผลลัพธ์ในทิศทางบวกเกิดขึ้นได้จากกมีส่วนร่วม
ของผู้น�าเกม บทบาทของผู้น�าเกมนั้นส�าคัญไม่ใช่แค่สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกของเกม
แต่ยังร่วมถึงการปูพื้นบริบททางสังคมการเมือง การอธิบายสถานการณ์จ�าลองให้สอดคล้อง
กับสภาพแวดล้อมจริง ช่วยให้ผู้เล่นซึมซับองค์ความรู้และประสบการณ์ของการเป็นพลเมือง
ในระบอบประชาธิปไตย