Page 97 - kpiebook67039
P. 97

96     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy







             5.2 ความเป็ นสถาบันและระบบพรรคการเมือง



                                 จากมุมมองของการพัฒนาประชาธิปไตย ลักษณะประการหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์

                         คือการที่สถาบันการเมืองยังคงมีความอ่อนแอ (Hutchcroft & Rocamora, 2003) กล่าวคือ
                         สถาบันการเมืองที่เป็นเสาหลักของประชาธิปไตยยังไม่สามารถท�างานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                         ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ กลไกการตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐ หรือแม้กระทั่งพรรคการเมือง
                         หากแต่ตกอยู่ภายใต้การครอบง�าบงการของเครือข่ายชนชั้นน�า (Oligarchic network)

                         ทางการเมือง-เศรษฐกิจ (Arugay & Slater, 2019) สภาวะเช่นนี้ท�าให้อ�านาจในการก�าหนดทิศทาง
                         การบริหารประเทศและนโยบาย ตลอดจนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจตกอยู่ที่เครือข่ายชนชั้นน�า

                         (Hutchcroft, 1991; Kang, 2002) อีกทั้งไม่เอื้ออ�านวยให้เกิดการสร้างกลไกการตรวจสอบ
                         ถ่วงดุลที่เข้มแข็ง ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมา คือการทุจริต (Corruption) ในระดับที่สูง Batalla

                         (2020) กล่าวว่าในกรณีของประเทศฟิลิปปินส์วัฒนธรรมการทุจริตในหมู่ผู้น�าระดับสูงทางการเมือง
                         เกิดขึ้นมาโดยตลอดไม่ว่าประเทศจะอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการหรือระบอบประชาธิปไตยเพราะ

                         เหตุว่าโครงสร้างการบริหารและปกครองของรัฐมีความอ่อนแอ ดังนั้นผลประโยชน์จากการจัดสรร
                         ทรัพยากรของรัฐจึงไปตกอยู่ที่กลุ่มชนชั้นน�ามากกว่าที่จะถูกบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์

                         กับประชาชนโดยทั่วไป ในแง่นี้ประเทศฟิลิปปินส์จึงมีตระกูลทางการเมือง (Political dynasty)
                         ที่มีความได้เปรียบทางการเมือง และท�าให้การแข่งขันทางการเมืองที่บริสุทธิ์ยุติธรรมเกิดขึ้นยาก

                         (Tadem & Tadem, 2016)


                                 นอกจากนี้พรรคการเมืองในประเทศฟิลิปปินส์ก็มีระดับความเป็นสถาบันต�่า กล่าวคือ
                         นโยบายพรรคการเมืองไม่ส�าคัญเท่ากับความนิยมในตัวบุคคล มีการตั้งพรรคการเมืองเพื่อรองรับ

                         ตัวบุคคล และนักการเมืองไม่ได้มีความซื่อสัตย์ต่อพรรคการเมือง สังเกตจากการย้ายพรรค (Party
                         switching) ของนักการเมืองที่เกิดขึ้นสม�่าเสมอ (Hicken, 2018) อนึ่ง White III (2015: 165)

                         ถึงกับกล่าวว่า “ชื่อพรรคแทบไม่มีความหมายในการคาดการณ์ผลการเลือกตั้งทั้งสภาผู้แทนราษฎร
                         และวุฒิสภา” ในแง่นี้เครือข่ายครอบครัวจึงเป็นปัจจัยที่ส�าคัญในการคาดการณ์ผลการเลือกตั้ง

                         ในประเทศฟิลิปปินส์ (Cruz et al., 2017) นอกจากนี้การเมืองฟิลิปปินส์ยังเผชิญกับการเกิดขึ้น
                         ของพรรคการเมืองใหม่สม�่าเสมอ ในแง่พฤติกรรมการเลือกตั้ง ผู้เลือกตั้งในประเทศฟิลิปปินส์

                         ลงคะแนนโดยมักจะพิจารณาว่าผู้สมัครมาจากตระกูลทางการเมืองใด มากกว่าพรรคการเมือง
                         ที่สังกัด กล่าวคือ ผู้เลือกตั้งจะพิจารณาสายสัมพันธ์ทางสังคมที่ใกล้ชิดกันระหว่างผู้ลงสมัคร

                         รับเลือกตั้งกับตนเอง (Ravanilla, 2022) หากพิจารณาจากมุมมองเรื่องพัฒนาการประชาธิปไตย
                         การให้ความส�าคัญกับเครือข่ายครอบครัวจะเป็นการค�้าจุนความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ที่เป็นอุปสรรค

                         ต่อการสร้างโครงสร้างรัฐที่เข้มแข็งภายใต้ระบอบประชาธิปไตย แต่หากพิจารณาจากมุมมองด้าน
                         ประชาสังคม ความสัมพันธ์ที่มีครอบครัวเป็นแก่นกลางก็มีประโยชน์ในการส่งเสริมความเป็นพลเมือง
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102