Page 100 - kpiebook67039
P. 100
99
ประการแรก การศึกษาภูมิหลังและบริบททางการเมืองของประเทศฟิลิปปินส์
พบว่าการเมืองฟิลิปปินส์ที่มีลักษณะเน้นเครือข่ายครอบครัวนั้นไม่สอดคล้องกับหลักการในเกม
Sim Democracy ซึ่งถูกออกแบบจากฐานคิดการสร้างสถาบันทางการเมืองภายใต้ระบอบ
ประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง เมื่อน�าเกมไปใช้ จึงน่าสนใจหากศึกษาการตีความเนื้อหาของเกม
ในบริบทที่หลักการของเกมกับสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่ห้อมล้อมเกมมีความแตกต่างกัน
ประการที่สอง ภาคประชาสังคมด้านการศึกษาจ�านวนมากท�างานใกล้ชิดกับ
เด็กด้อยโอกาส เน้นการสงเคราะห์และให้ความช่วยเหลือเด็กยากไร้ การค้นคว้าข้อมูลเอกสาร
ไม่พบองค์กรภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านการศึกษาโดยเฉพาะ
ประการที่สาม ประเทศฟิลิปปินส์มีกลไกคณะกรรมการเยาวชนแห่งชาติซึ่งเปิดพื้นที่
ให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการก�าหนดนโยบาย ประเด็นที่น่าสนใจคือความคุ้นเคยกับกลไกนี้
ส่งผลต่อการเล่นเกมและการน�าเกมไปประยุกต์ใช้มากน้อยเพียงใด
5.5 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริม
ทักษะความเป็ นพลเมืองโดยพรรคการเมือง
5.5.1 ภาพรวมกลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริม
ทักษะความเป็นพลเมืองโดย Liberal Youth (LY)
การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้แทนจาก Liberal Youth (LY) ซึ่งเป็นองค์กร
เยาวชนของพรรคเสรีนิยม ประเทศฟิลิปปินส์ และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่ากลยุทธ์การจัด
กระบวนการเกม Sim Democracy เพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองโดยพรรคการเมือง ผ่านทาง
ปีกเยาวชนของพรรค มีวัตถุประสงค์หลักในการสรรหาบุคคลเพื่อเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
(Political recruitment) โดยมีกลุ่มเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายโดยสามารถแบ่งกลุ่มเป้าหมาย
ออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและเยาวชนในท้องถิ่น และ
นักศึกษาในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ การเลือกกลุ่มเป้าหมายของ LY สอดคล้องกับ
นิยามของเยาวชนในกฎหมาย RA 8044 Youth In Nation-Building Act of 1995 ซึ่งให้นิยาม
เยาวชนว่าเป็นบุคคลที่มีอายุระหว่าง 15-30 ปี ข้อค้นพบดังกล่าวช่วยขยายภาพให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ในเรื่องการสรรหาบุคลากรทางการเมืองที่มากไปกว่าเรื่องช่องทาง (Recruitment channel)
แต่ครอบคลุมไปถึงมิติจุลภาคในเรื่องการน�ากลยุทธ์การสรรหาบุคลากรทางการเมืองมาสู่การปฏิบัติ
(Implementation of recruitment strategy) โดยในที่นี้คือการใช้เกม Sim Democracy