Page 108 - kpiebook67039
P. 108
107
5.6 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะ
ความเป็ นพลเมืองโดยองค์กรภาคประชาสังคม
5.6.1 ภาพรวมกลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริม
ทักษะความเป็นพลเมืองโดยมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศฟิลิปปินส์
(FNF Philippines)
การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้แทนมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศฟิลิปปินส์
และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่ากลยุทธ์การจัดกระบวนการเกม Sim Democracy เพื่อ
ส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองโดยองค์กรภาคประชาสังคมมีวัตถุประสงค์หลักในการให้ความรู้
เกี่ยวกับการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากการท�างานส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตยเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักที่มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศ
ฟิลิปปินส์ด�าเนินการ การแสวงหาสื่อหรือเครื่องมือใหม่ ๆ จึงเป็นสิ่งที่จ�าเป็น อนึ่งเกม Sim
Democracy มีการผลิตออกมาในฉบับภาษาอังกฤษ และมีการปรับปรุงกลไกบางอย่าง เช่น
การ์ดสถานการณ์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ปรับให้เข้ากับสถานการณ์หรือบริบทเฉพาะ ดังนั้น การน�าไปใช้
ในประเทศฟิลิปปินส์จึงไม่มีข้อจ�ากัดด้านภาษา และมีความยืดหยุ่นพอสมควร ข้อแตกต่างส�าคัญ
ระหว่างการท�างานของมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศฟิลิปปินส์กับ LY คือการเน้นกิจกรรม
การฝึกอบรมผู้น�าการเล่นเกม (Training of trainers) เพราะฉะนั้นในกรณีของมูลนิธิฟรีดริช เนามัน
ประเทศฟิลิปปินส์ จึงมีเป้าหมายของการน�าเกมไปใช้ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน (Concrete pragmatic end)
ทั้งในการฝึกอบรมเยาวชนในเครือข่ายในทักษะการเป็นผู้น�า (Leadership skills) และการใช้เกม
เป็นสื่อในการถ่ายทอดเนื้อหา (Substantive content) ในเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ในระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ส�านักงานประเทศฟิลิปปินส์ได้ประสานงานกับ
ส�านักงานประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตและพัฒนาเกม Sim Democracy สะท้อนให้เห็นกระบวนการ
ขยายผลการน�าเกมไปใช้ภายในเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมที่ท�างานในระดับนานาชาติ
ตลอดจนกระบวนการเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานในองค์กรที่มีส�านักงานในหลายประเทศ
5.6.2 มิติภายในองค์กร
พันธกิจองค์กร
มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศฟิลิปปินส์มีภารกิจในการขับเคลื่อนเรื่องสังคมดิจิทัลและ
สังคมเปิดกว้าง ตลอดจนนโยบายเศรษฐกิจแบบตลาด นอกจากนี้องค์กรยังมีส่วนร่วมในการพัฒนา