Page 109 - kpiebook67039
P. 109

108     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy






                         เครื่องมือนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยท�างานร่วมกับหน่วยงานรัฐ พรรคการเมือง องค์กรเยาวชน และ

                         สถาบันคลังสมอง Center for Liberalism and Democracy, Commission on Human Rights
                         of the Philippines, Rappler, Philippine Economic Society และ Impact Leadership




                                 ผู้น�าทีมในองค์กร



                                 ผู้แทนมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศฟิลิปปินส์มองว่าการใช้เกม Sim Democracy
                         สอดคล้องกับพันธกิจหลักขององค์กร โดยได้เน้นย�้าถึงความส�าคัญเรื่องการปรับประยุกต์เกม
                         ให้เข้ากับความต้องการเฉพาะของพื้นที่ (Localization) และกลุ่มเป้าหมายที่น�าไปใช้

                         อนึ่งควรกล่าวไว้ ณ ที่นี้ด้วยว่า ผู้น�าทีมของมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศฟิลิปปินส์ได้ให้

                         การสนับสนุนการใช้เกม Sim Democracy มาโดยตลอด และมีการติดต่อให้ทีมผู้น�าเล่นเกม
                         จากมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทยมาจัดฝึกอบรมผู้น�าการเล่นเกม (Training of trainers)




                     5.6.3 การประกอบการเชิงความรู้


                                 ความเชี่ยวชาญของบุคลากร


                                 บุคลากรของมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศฟิลิปปินส์ได้มีโอกาสเรียนรู้การน�าเกม

                         Sim Democracy ไปใช้ อย่างไรก็ตาม ในการจัดฝึกอบรมผู้น�าการเล่นเกม มักจะมีการเชิญ
                         ผู้น�าเล่นเกมที่มีประสบการณ์จากประเทศไทยมาช่วยฝึกอบรม





                                 การถ่ายทอดองค์ความรู้


                                 ในส่วนนี้ การอภิปรายจะแยกออกเป็นสองประเด็น ประเด็นแรกคือการถ่ายทอด
                         องค์ความรู้เรื่องกลยุทธ์การใช้เกม Sim Democracy ระหว่างมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทย

                         และประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมีมิติการถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างองค์กรที่อยู่ภายใต้โครงสร้างใหญ่
                         เดียวกัน ประเด็นที่สองคือการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยผ่านเกม Sim Democracy

                         ในกิจกรรมการฝึกอบรมผู้น�าการเล่นเกม ในประเด็นแรกการถ่ายทอดองค์ความรู้เกิดขึ้นอย่าง
                         เป็นทางการ (Formal) ผ่านการฝึกอบรม และไม่เป็นทางการ (Informal) ผ่านปฏิสัมพันธ์

                         ระหว่างเจ้าหน้าที่ของทั้งสองส�านักงาน และการแลกเปลี่ยนข้อมูล ตลอดจนแบ่งปันประสบการณ์
                         ระหว่างกัน ปฏิสัมพันธ์เหล่านี้เกิดขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์ใหญ่ขององค์กรที่มีร่วมกัน ดังนั้นการใช้เกม

                         Sim Democracy จึงเป็นการสนับสนุนหรือเกื้อหนุน (Complementary) การด�าเนินกิจกรรม
                         ซึ่งกันและกัน ลักษณะองค์ความรู้ที่ส่งผ่านมีทั้งความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) ผ่านคู่มือ

                         การเล่นเกม และความรู้เฉพาะตัว (Tacit knowledge) ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114