Page 113 - kpiebook67039
P. 113
112 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
5.8 มุมมองของสังคมต่อบอร์ดเกม
ผู้แทนจาก LY มองว่ากลุ่มผู้เล่นบอร์ดเกม คือกลุ่มชนชั้นกลางในเมือง ดังนั้น การน�า
เกม Sim Democracy ไปใช้จึงเข้ากับวิถีชีวิตและพฤติกรรมของชนชั้นกลางในเมืองมากกว่า
กลุ่มคนในชนบทที่ไม่มีความคุ้นเคยกับบอร์ดเกม (เจ้าหน้าที่ LY, สัมภาษณ์, 1 ธันวาคม 2565)
นอกจากนี้ หากมองในบริบทที่กว้างขึ้นในระดับภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ผู้ให้สัมภาษณ์ขยายความว่า
จากการสังเกต พบว่าผู้คนในยุโรปที่ท�างานเรื่องการให้การศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่พลเมืองจ�านวนมาก
ปฏิเสธที่จะใช้เกม เพราะมองว่าเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความสนุกสนานมากกว่าที่จะเป็นเครื่องมือ
ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านประชาธิปไตยและหน้าที่พลเมือง โดยพวกเขามองว่าวิธีการที่เหมาะสม
มากกว่า คือการจัดสัมมนาหรือกิจกรรมทางวิชาการ (ผู้อ�านวยการ FNF Philippines, สัมภาษณ์,
1 ธันวาคม 2565)
5.9 ข้อจ�ากัด
จากการสัมภาษณ์ พบว่าการน�าเกม Sim Democracy ไปใช้ในกรณีของประเทศฟิลิปปินส์
เผชิญข้อจ�ากัดสามประการ ดังนี้
ประการแรก ข้อจ�ากัดเรื่องทรัพยากร ได้แก่ จ�านวนผู้น�าเล่นเกมไม่เพียงพอ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในกรณีของ LY กล่าวคือ จ�านวนผู้ที่สามารถถ่ายทอดและฝึกฝนผู้น�าการเล่นเกมภายใน
องค์กรมีจ�านวนจ�ากัด นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกิดขึ้นเมื่อใช้เกมกับกลุ่มขนาดใหญ่ในเรื่องการท�า
ให้ผู้เล่นทุกคนอยากมีส่วนร่วม
ประการที่สอง ข้อจ�ากัดจากกลไกภายในตัวเกมที่ซับซ้อนท�าให้การน�าไปใช้ต่อค่อนข้าง
ล�าบาก นอกจากนี้ผู้เล่นบอร์ดเกมเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเฉพาะและมีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมที่ดี
ดังนั้นการขยายผลในวงกว้างจึงเป็นไปได้ยาก
ประการที่สาม ข้อจ�ากัดทางภูมิศาสตร์ท�าให้การใช้เกมในพื้นที่เกาะที่ห่างไกล และ
พื้นที่ชนบทเป็นไปได้ยาก ดังนั้น การน�าเกมไปใช้จึงกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ แตกต่างจากกรณี
ของประเทศไทยที่เกม Sim Democracy ถูกน�าไปใช้ในโรงเรียนในพื้นที่ที่ห่างไกลจากเขตเมือง