Page 111 - kpiebook67039
P. 111
110 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
หรือการติดตามว่าผู้น�าการเล่นเกมน�าเกม Sim Democracy ไปใช้อย่างไร การติดตามในลักษณะนี้
พบในกรณีของประเทศไทย
การบริหารจัดการทรัพยากรภายในโครงการ
มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศฟิลิปปินส์ได้ติดต่อกับส�านักงานประเทศไทยเพื่อน�า
เกม Sim Democracy มาใช้ และมีการเชิญผู้น�าการเล่นเกมที่มีประสบการณ์จากประเทศไทย
มาจัดฝึกอบรมที่ประเทศฟิลิปปินส์ การบริหารจัดการทรัพยากรภายในโครงการจึงมีลักษณะ
ของการน�าทรัพยากรมาร่วมกัน (Pooling of resources)
5.6.5 มิติเครือข่ายระหว่างองค์กร
บทบาทขององค์กรภายในเครือข่าย
มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศฟิลิปปินส์ท�างานใกล้ชิดกับ LY ดังนั้นการน�า
เกม Sim Democracy ไปใช้จึงมีมิติการประสานเครือข่ายระหว่างองค์กร โดยที่มูลนิธิฯ
เป็นผู้อ�านวยความสะดวกในการติดต่อกับส�านักงานประเทศไทยในเรื่องการสนับสนุนบุคลากร
การจัดฝึกอบรม และเกม
การเคลื่อนที่ขององค์ความรู้ภายในเครือข่าย
การเคลื่อนที่ขององค์ความรู้ภายในเครือข่ายมีลักษณะของการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง
มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศฟิลิปปินส์ ส�านักงานประเทศไทย และ LY โดยแต่ละฝ่ายจะต้อง
ปรับวิธีการและเทคนิคการน�าเกมไปใช้ให้เหมาะสมกับบริบทและกลุ่มผู้เล่นเพื่อให้ตอบโจทย์ความ
ต้องการและเป้าหมายย่อยของแต่ละฝ่าย
ความสามารถในการประสานงานภายในเครือข่าย
มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศฟิลิปปินส์มีการประสานงานกับทั้งส�านักงานประเทศไทย
และ LY นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ยังมีภาคีเครือข่ายภายในประเทศที่มีศักยภาพในการช่วยขยายผล
ต่ออีกด้วย
ในส่วนต่อไป คณะผู้วิจัยน�าเสนอการวิเคราะห์กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกม
เพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองในกรณีประเทศฟิลิปปินส์โดยเชื่อมโยงเข้ากับบริบทของ
สังคมเพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยเชิงบริบทกับกลยุทธ์ โดยปัจจัยเชิงบริบทเหล่านี้
สามารถเป็นทั้งข้อจ�ากัดและปัจจัยส่งเสริมการน�าเกมไปใช้