Page 110 - kpiebook67039
P. 110
109
ที่มีปฏิสัมพันธ์ในการน�าเกม Sim Democracy ไปใช้ ในประเด็นที่สอง ในภาพรวม มูลนิธิฟรีดริช
เนามัน ประเทศฟิลิปปินส์ใช้เกม Sim Democracy เพื่อช่วยวางกรอบ (Frame) ในการท�า
ความเข้าใจกับหลักการที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย ข้อค้นพบในส่วนนี้คล้ายกับการน�าเกม
ไปใช้โดยพรรคการเมืองในแง่ที่ว่าคู่มือการเล่นเกมมีประโยชน์ในภาพกว้าง แต่ในรายละเอียด
ผู้น�าการเล่นเกมจะต้องถอดบทเรียนโดยเชื่อมโยงบริบทเฉพาะเข้ากับหลักการ
ประสบการณ์ในการจัดกระบวนการ
เนื่องจากมูลนิธิฟรีดริช เนามัน จะมีการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่
อย่างสม�่าเสมอ เจ้าหน้าที่ของส�านักงานประเทศฟิลิปปินส์จึงมีประสบการณ์ในการจัดกระบวนการ
และมีความสามารถในการเลือกใช้เกม Sim Democracy ในกิจกรรมที่เหมาะสม ประเด็น
ที่ต้องขยายความ ณ ที่นี้คือ เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิเข้าใจในเนื้อหาและแนวทางการน�าเกมไปใช้
แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ลงมือเป็นผู้น�าการเล่นเกมเอง แต่ก็สามารถออกแบบกิจกรรมโดยใช้เกม
Sim Democracy เป็นส่วนหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ในกิจกรรมที่มูลนิธิต้องการสร้างเครือข่าย
ผู้น�าเยาวชน เกมก็จะถูกใช้ทั้งในฐานะสื่อสันทนาการเพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่น
และใช้เพื่อถ่ายทอดสาระส�าคัญหรือหลักการที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัย
ประสบการณ์ในการจัดกระบวนการในระดับหนึ่งเพราะเกมจะต้องสอดคล้องไปกับล�าดับขั้นตอน
(Flow) ของกิจกรรมทั้งหมด
การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเครื่องมือการจัดกระบวนการใหม่ ๆ
มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศฟิลิปปินส์ได้สร้างเครื่องมือและออกแบบกระบวนการ
เพื่อพัฒนาขีดความสามารถให้กับหน่วยงานที่เป็นภาคีเครือข่าย และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ
ส�านักงานในประเทศอื่น ๆ จึงสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเครื่องมือการจัดกระบวนการใหม่ ๆ
5.6.4 ขีดความสามารถในการบริหารจัดการโครงการ
การวางแผนการน�าเกมสู่การปฏิบัติ
ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การวางแผนการน�าเกมสู่การปฏิบัติในกรณีของมูลนิธิฟรีดริช เนามัน
ประเทศฟิลิปปินส์ จะอยู่ภายใต้โครงการใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครือข่ายเยาวชน และ
การฝึกอบรมผู้น�า การวางแผนมีความชัดเจนในเรื่องกลุ่มเป้าหมาย และความคาดหวังจาก
การใช้เกม นอกจากนี้มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศฟิลิปปินส์ยังสนับสนุน LY ในเรื่องการน�า
เกมไปใช้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่ปรากฏในข้อมูลจากการสัมภาษณ์ คือการขยายผล