Page 127 - kpiebook67039
P. 127
126 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
การเคลื่อนที่ขององค์ความรู้ภายในเครือข่าย
มูลนิธิฟรีดริช เนามันประเทศไทยเป็นผู้มีบทบาทหลักในการเผยแพร่ความรู้ให้กับ
องค์กรในภาคีเครือข่ายของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหมด
ความสามารถในการประสานงานภายในเครือข่าย
การประสานความร่วมมือระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับภาคีเครือข่ายของพรรคด�าเนิน
ไปในรูปแบบที่ไม่ได้เป็นทางการ และไม่ได้มีลักษณะถาวร หากแต่เป็นการประสานของความร่วมมือ
ในการขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกันเป็นครั้งคราว หรือเป็นรายโครงการ โดยมีพรรคประชาธิปัตย์
เป็นแกนกลางในการระดมทรัพยากรของภาคีเครือข่ายเพื่อจัดกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์
6.6 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะ
ความเป็ นพลเมืองโดยองค์กรภาคประชาสังคม
6.6.1 ภาพรวมกลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริม
ทักษะความเป็นพลเมืองโดยมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทย
(FNF Thailand)
มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทยมีบทบาทในการจัดกระบวนการเกมในประเทศไทย
ใน 3 ลักษณะ คือ (1) บทบาทของสร้างและเชื่อมต่อเครือข่ายองค์กรที่ท�างานเกี่ยวข้องกับ
การศึกษา เด็กและเยาวชน และองค์กรทางการเมือง (2) บทบาทเป็นผู้ฝึกฝนและสร้างผู้น�า
การเล่นเกม (Training of trainers) โดยข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการน�าเกม
Sim Democracy ไปใช้ทั้งหมด พบว่ามูลนิธิฟรีดริช เนามันประเทศไทยเป็นแกนกลางในการน�า
ให้ตัวแสดงทั้งหมดมาพบกัน และเป็นผู้แนะน�าให้ตัวแสดงทั้งหมดได้รู้จักเกม และรู้จักการน�าเกม
ไปใช้เพื่อตอบวัตถุประสงค์ขององค์กรเครือข่ายเหล่านั้น และ (3) บทบาทในการสร้างและพัฒนา
เกม Sim Democracy และเกมอื่น ๆ โดยร่วมมือกับองค์กรภาคีเครือข่าย