Page 131 - kpiebook67039
P. 131
130 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
การเคลื่อนที่ขององค์ความรู้ภายในเครือข่าย
การเคลื่อนที่ขององค์ความรู้ภายในเครือข่ายมีลักษณะของการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง
มูลนิธิฯ กับองค์กรอื่น ๆ ภายในเครือข่าย อันน�ามาสู่การปรับวิธีการ และเทคนิคการน�าเกมไปใช้
ให้เหมาะสมกับบริบท และกลุ่มผู้เล่นเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการ และเป้าหมายย่อยของ
แต่ละฝ่าย
ความสามารถในการประสานงานภายในเครือข่าย
มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทยมีการประสานงานกับภาคีเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
และเป็นเสมือนศูนย์กลางของเครือข่าย และศูนย์กลางทรัพยากรเกี่ยวกับการน�าเกมไปใช้ด้วย
ในส่วนต่อไป คณะผู้วิจัยน�าเสนอการวิเคราะห์กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อ
ส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองในกรณีประเทศไทยโดยเชื่อมโยงเข้ากับบริบทของสังคมเพื่อ
ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยเชิงบริบทกับกลยุทธ์ โดยปัจจัยเชิงบริบทเหล่านี้สามารถเป็น
ทั้งข้อจ�ากัดและปัจจัยส่งเสริมการน�าเกมไปใช้
6.7 มิติสังคม
6.7.1 ผู้ก�าหนดนโยบายระดับสูง (Policy elite) ในภาครัฐ
และการสนับสนุนโดยภาครัฐ
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในส่วนที่อภิปรายเกี่ยวกับประเทศฟิลิปปินส์ว่า ในประเทศไทยนั้น
ผู้ที่มีบทบาทระดับสูงในการก�าหนดนโยบายของรัฐมีส่วนในการสนับสนุนการใช้เกม โดยมีส่วนร่วม
ทั้งการผลิตและการน�าเกมไปใช้ ทั้งเกมกระดาน และการ์ด เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการสื่อสาร
และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ผู้บริหารของส�านักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ให้การสนับสนุนเกม Sim Democracy, เกม Rights Card Game ซึ่งกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
กระทรวงยุติธรรม เป็นภาคีเครือข่ายในการร่วมพัฒนาและน�าไปใช้ อีกตัวอย่างหนึ่ง ได้แก่ เกม
The Choice ทางเลือก ทางรอด ที่ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้ และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรมร่วมพัฒนาออกแบบ และน�าไปใช้เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้
เรื่องหนี้นอกระบบ และการวางแผนทางการเงินที่เหมาะสม
นอกจากนี้การที่พรรคการเมืองที่มีสมาชิกของพรรคด�ารงต�าแหน่งผู้แทนราษฎร
ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในรัฐสภา และกรรมาธิการของรัฐสภาอย่างพรรคประชาธิปัตย์ มีส่วนในการ
สนับสนุนการใช้เกม ก็นับว่ามีสัญญาณที่มีความส�าคัญเช่นกัน