Page 139 - kpiebook67039
P. 139
138 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
องค์กรที่อภิปรายข้างต้นในการส่งผลต่อการสร้างกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการจัดกระบวนการเกม
เพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง และปัจจัยเชิงบริบทนี้สามารถเป็นทั้งปัจจัยเกื้อหนุนและ
อุปสรรค กล่าวคือ ในกรณีของประเทศมาเลเซียวัฒนธรรมการอภิปรายอย่างกว้างขวางถูกตีกรอบ
ด้วยเรื่องความสมัครสมานสามัคคีของกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ส่วนกรณีของประเทศไทย
ความน่าสนใจอยู่ที่การน�าเกม Sim Democracy ไปใช้ภายใต้บริบทของการควบคุมทางการเมือง
หลังการรัฐประหารปี ค.ศ. 2014 และการเมืองที่มีการแบ่งขั้วชัดเจน คณะผู้วิจัยพบว่าการน�าเกม
ไปใช้ในห้วงเวลาดังกล่าวไม่ได้ถูกตรวจตราหรือห้ามการน�าไปใช้ ประเด็นจึงมาอยู่ที่เรื่องของต�าแหน่ง
แห่งที่ขององค์กรที่น�าเกมไปใช้มากกว่า ในเรื่องของมาตรการทางนโยบาย จะพบว่าผู้ตัดสินใจ
เชิงนโยบายระดับสูงในประเทศไทยสนับสนุนการผลิตและพัฒนา ตลอดจนการน�าเกม Sim
Democracy ไปใช้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งคณะผู้วิจัยไม่พบปัจจัยนี้ในประเทศมาเลเซียและฟิลิปปินส์
นอกจากปัจจัยภายในและภายนอกที่ได้อภิปรายนี้ คณะผู้วิจัยยังพบข้อค้นพบที่น่าพิจารณา
ในกรอบของการวางกลยุทธ์การน�าเกมไปใช้ ดังนี้ เรื่องแรกผู้น�าเกมไปใช้ต่อไม่ได้เป็นแค่ผู้รับ
(Passive) เพียงอย่างเดียวแต่มีการตีความเนื้อหาเกมใหม่ให้สอดรับกับบริบททางสังคมการเมือง
และวัตถุประสงค์ของการน�าเกมไปใช้ เช่น ในกรณีของประเทศมาเลเซีย พรรค PKR ตีความ
เนื้อหาเกมใหม่ให้สอดคล้องกับแนวคิดเรื่อง Value-based politics ของพรรค ในขณะที่ Impact
Malaysia วางแผนจะใช้เกมเพื่อให้ความรู้ในเรื่องกระบวนการเลือกตั้งเป็นหลัก นอกจากนี้
ผู้น�าเกมไปใช้ยังมีการปรับแต่งกติกา และกลไกเกมให้สอดคล้องกับการน�าเกมไปใช้ในแต่ละครั้ง
เช่น ในกรณีของประเทศฟิลิปปินส์ LY มีการเพิ่มบทบาทของตัวละครและหน้าที่ใหม่ ๆ เพื่อให้ขยาย
ขอบเขตความเข้าใจเรื่องทักษะความเป็นพลเมืองและแก้ปัญหาจ�านวนผู้เล่นที่มากขึ้นไปพร้อม ๆ กัน
ในเรื่องสุดท้าย คณะผู้วิจัยพบว่าการวางกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการจัดกระบวนการเกม
เพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองขาดผู้น�าการเล่นเกมมิได้ หมายความว่าจะต้องมีการบรรจุ
เรื่องการฝึกอบรมผู้น�าการเล่นเกมเข้าไปในกลยุทธ์ โดยการฝึกอบรมต้องสร้างความเข้าใจทั้งใน
เนื้อหาและกระบวนการ ตลอดจนสร้างทัศนคติที่มองเกมในฐานะเครื่องมือสร้างความเปลี่ยนแปลง
ในสังคมที่มากไปกว่าการเป็นเครื่องมือสันทนาการ