Page 142 - kpiebook67039
P. 142
141
ระดับภายในองค์กร
มิติแรก ผู้น�าทีมเป็นบุคคลที่ส�าคัญในการวางแผนและออกแบบกระบวนการใช้เกม
เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจขององค์กร วัตถุประสงค์ของโครงการและกิจกรรม ตลอดจนสอดคล้อง
กับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ผู้น�าทีมจะต้องมีพิมพ์เขียวในการใช้เกมในระยะสั้น
กลาง และยาว เพื่อให้เกิดความชัดเจนและต่อเนื่องในการน�าเกมไปใช้ ไม่ใช่แค่การแนะน�าเกม
ต่อผู้เล่นแบบครั้งเดียวจบ ทั้งนี้ ผู้น�าทีมไม่จ�าเป็นจะต้องท�างานคนเดียว แต่ต้องอาศัยศักยภาพ
ของสมาชิกในทีมในการร่วมระดมสมองในการวางแผนและน�าเกมไปใช้
มิติที่สอง สมาชิกขององค์กรที่น�าเกมไปใช้จะต้องแสดงบทบาทเป็นผู้ประกอบการ
เชิงความรู้ ดังนั้น กลยุทธ์ในส่วนนี้หมายถึงการถ่ายทอดเนื้อหาและคุณค่าที่อยู่ในเกมไปสู่ผู้เล่น
อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่บังคับ เพราะฉะนั้นการถ่ายทอดองค์ความรู้จึงต้องเป็นบทสนทนา
ที่เปิดกว้างที่เกิดขึ้นขณะเล่นเกม นอกจากนี้การถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านเกมไม่สามารถตัดขาด
จากองค์ประกอบอื่น ๆ ในการน�าเกมไปใช้ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมละลายพฤติกรรม การเตรียม
สื่อการเรียนรู้เพิ่มเติม ตลอดจนการถอดบทเรียนหลังเล่นเกม ข้อพิจารณาอีกประการหนึ่ง คือ
การเปลี่ยนผ่านจากกิจกรรมหนึ่งสู่อีกกิจกรรมหนึ่งต้องรักษาความรู้สึกที่ต่อเนื่องของผู้เล่น
ที่ให้ความสนใจกับเนื้อหา และความสนุกสนานที่เกิดขึ้นตลอดกิจกรรม
มิติที่สาม ศักยภาพในการบริหารจัดการโครงการ หมายถึง การมีทรัพยากรที่เพียงพอ
ในการน�าเกมไปใช้ ตลอดจนเรื่องการฝึกฝนผู้น�าการเล่นเกมที่สามารถไปจัดอบรมเพื่อขยายผล
ต่อได้ เนื่องจากการน�าเกมไปใช้เพื่อให้ได้ผลตามที่คาดหมายไว้เป็นการลงทุนทั้งในเรื่องของคน
เงิน และเวลา องค์กรที่ต้องการพัฒนาเกมหรือน�าเกมไปใช้จะต้องวางแผนให้ชัดเจนในเรื่องทรัพยากร
ที่จะต้องใช้ หากองค์กรเดียวไม่สามารถท�าได้ ก็จะต้องแสวงหาความร่วมมือร่วมกับภาคีเครือข่าย
ระดับระหว่างองค์กร
มิติที่หนึ่ง องค์กรที่ต้องการขับเคลื่อนการน�าเกมไปใช้จะต้องท�าหน้าที่เป็นผู้บริหารจัดการ
เครือข่าย หมายความว่า จะต้องเป็นตัวกลางในการประสานงานกับองค์กรอื่น ๆ เพื่อสร้างเครือข่าย
ในการน�าเกมไปใช้ จุดนี้เชื่อมโยงกับบทบาทของผู้น�าทีมในการที่จะใช้ทรัพยากร และจุดแข็งของทีม
และองค์กรในการหล่อเลี้ยงเครือข่าย นอกจากนี้ผู้บริหารจัดการเครือข่ายจะต้องสร้างวิสัยทัศน์
ร่วมกันระหว่างสมาชิกในเครือข่ายให้เห็นประโยชน์ของเกม และสื่อสารกับภาคีเครือข่ายอย่าง
สม�่าเสมอ
มิติที่สอง องค์กรที่ต้องการขับเคลื่อนการน�าเกมไปใช้จะต้องให้ความส�าคัญกับ
การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ แนวทางการน�าเกมไปใช้ ตัวอย่างที่ดี และข้อจ�ากัด
ที่เผชิญซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายเพื่อให้ทุกองค์กรได้พัฒนาขีดความสามารถในการน�าเกม
ไปใช้ และสื่อสารเนื้อหาและคุณค่าภายในเกมเป็นเสียงเดียวกัน