Page 137 - kpiebook67039
P. 137

136     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy






                         ในกรณีของประเทศฟิลิปปินส์และประเทศไทย ส�านักงานมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ของแต่ละประเทศ

                         มีการใช้เกม Sim Democracy เพื่อสร้างเครือข่ายผู้น�าการเล่นเกมที่จะส่งผ่านถ่ายทอดสารส�าคัญ
                         (Key message) ว่าด้วยเรื่องทักษะความเป็นพลเมือง และคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยไปสู่

                         วงที่กว้างขึ้น แต่ในกรณีของประเทศมาเลเซีย Impact Malaysia แม้องค์กรจะมีภารกิจในเรื่อง
                         การเสริมพลังเยาวชน แต่การเตรียมการน�าเกม Sim Democracy ไปใช้ในอนาคตกลับเน้นเฉพาะ

                         เรื่องกระบวนการเลือกตั้ง เนื่องมาจากปัจจัยเชิงบริบทที่เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารเรื่องหน้าที่
                         พลเมืองที่ครอบคลุมประเด็นเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมือง ในแง่ของสถาบันการศึกษา จะพบว่า

                         ในกรณีของประเทศไทย การน�าเกม Sim Democracy ไปใช้ในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา
                         สอดคล้องกับพันธกิจขององค์กรเป็นอย่างดี เพราะเกมดังกล่าวถูกมองว่าเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้

                         ที่สนับสนุนการเรียนการสอนด้านหน้าที่พลเมือง ในประเทศฟิลิปปินส์และมาเลเซีย ไม่พบการน�า
                         เกม Sim Democracy ไปใช้ในรายวิชาหน้าที่พลเมืองโดยบุคลากรในสถาบันการศึกษา


                                 ประการที่สอง ปัจจัยด้านความเชี่ยวชาญของบุคลากร คณะผู้วิจัยพบว่า บุคลากร

                         ของพรรคการเมืองทั้งในประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยต่างก็มีความรู้ในเรื่องทักษะ
                         ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นเงื่อนไขส�าคัญในการน�าเกม

                         Sim Democracy ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย อีกทั้งบุคลากรกลุ่มดังกล่าว
                         ยังมีทักษะในการออกแบบและบริหารจัดการกระบวนการน�าเกมไปใช้ กล่าวคือ มีการจัดวางเกม

                         ให้สอดคล้องไปกับกิจกรรมอื่น ๆ ในการจัดฝึกอบรม โดยค�านึงถึงกิจกรรมเสริมการเล่นเกม
                         ไม่ว่าจะเป็นการเสริมด้วยกิจกรรมละลายพฤติกรรม หรือการถอดบทเรียนในตอนท้ายกิจกรรม

                         หลังเล่นเกมจบแล้ว บุคลากรในองค์กรภาคประชาสังคมที่น�าเกมไปใช้ในทั้งสามประเทศ
                         ก็มีความช�านาญทั้งในเรื่องกระบวนการและเนื้อหาเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังผ่านการฝึกอบรมการจัด

                         กิจกรรมเยาวชนหรือการเป็นกระบวนกรมาแล้วด้วย ในกรณีของสถาบันการศึกษา ดังที่กล่าว
                         มาแล้ว ส�าหรับประเทศมาเลเซียและฟิลิปปินส์ ไม่มีการน�าเกมไปใช้ แต่ในกรณีของประเทศไทย

                         ความน่าสนใจ คือเกมถูกน�าไปใช้โดยบุคลากรในสถานศึกษาอย่างกว้างขวาง มีทั้งผู้ที่ผ่านการฝึก
                         อบรมการเป็นผู้น�าการเล่นเกมมาแล้ว และผู้ที่น�าเกมไปใช้โดยศึกษาด้วยตนเอง ทักษะประการส�าคัญ

                         ที่บุคลากรในสถานศึกษามีคือเรื่องการถ่ายทอดเนื้อหาเรื่องความเป็นพลเมืองที่เข้าใจง่าย
                         และเป็นระบบ อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงให้เข้ากับพันธกิจองค์กรได้อีกด้วย


                                 ประการที่สาม การสนับสนุนการใช้เกมโดยผู้น�าองค์กร คณะผู้วิจัยพบว่าผู้บริหาร
                         พรรคการเมืองในทั้งสามประเทศต่างก็แสดงท่าทีไม่คัดค้านการน�าเกม Sim Democracy ไปใช้

                         แต่ถ้าพิจารณาลงไปในรายละเอียด จะพบว่าในกรณีของประเทศมาเลเซียและไทย ผู้ที่มีหน้าที่

                         เรื่องยุทธศาสตร์ของพรรค ซึ่งเป็นบุคลากรระดับสูงของพรรค เป็นผู้น�าเกมไปใช้เอง เท่ากับว่า
                         เกมได้รับการยอมรับมากพอสมควร ในขณะที่กรณีประเทศฟิลิปปินส์ ผู้น�าเกมไปใช้คือบุคลากร
                         ในระดับปฏิบัติการที่ดูแลปีกเยาวชนของพรรค ดังนั้น เกมจึงไม่ได้เป็นสิ่งที่ผู้บริหารพรรค
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142