Page 57 - kpiebook67026
P. 57
56 ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์
ของเขาและสามารถสร้างความสัมพันธกับบุคคลอื่นหรืออาศัยอยู่คนเดียวตามล�าพัง
นอกจากนั้น นามสกุลของบุคคล (Person’s Surname) ยังเป็นองคประกอบที่ส�าคัญ
ในการก่อให้เกิดเป็นอัตลักษณ (Identity) หรือความเป็นตัวตนของบุคคลนั้น ดังนั้น
สิทธิในการเลือกและเปลี่ยนชื่อของบุคคล (Right to Choose and Change One’s
own Name) จึงเป็นสิ่งที่ได้รับความคุ้มครองจากการใช้อ�านาจ หรือการแทรกแซง
ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การวางหลักขององคการสหประชาชาติยังมีความสอดคล้องกับทางปฏิบัติ
ที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป โดยศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปได้ยืนยันว่าอัตลักษณทางเพศ
และการแสดงออกซึ่งอัตลักษณทางเพศ (Gender Identity and Expression)
เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตส่วนตัวของบุคคลที่รัฐต้องให้ความคุ้มครองเช่นกัน ดังจะเห็นได้
ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปได้มีค�าพิพากษาในคดี Christine Goodwin v. United
Kingdom (2002) เป็นเรื่องที่ผู้ร้องเป็นบุคคลแปลงเพศ ซึ่งแปลงจากเพศชายเป็น
เพศหญิง (Post-operative Male-to-female Transsexual) โดยได้รับการช่วยเหลือ
ในเรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการผ่าตัดและการดูแลรักษาสุขภาพจากสถาบันด้านสุขภาพ
แห่งชาติ (National Health Service) ของประเทศอังกฤษ ต่อมาผู้ร้องถูกปฏิเสธค�าขอ
เรื่องการแก้ไขเพศใหม่ในใบสูติบัตร และหมายเลขประกันสังคมของเธอ เนื่องจาก
ในทางกฎหมายนั้นผู้ร้องยังเป็นเพศชายอยู่ นอกจากนั้นผู้ร้องยังได้รับแจ้งจากหน่วยงาน
ที่ท�าหน้าที่รับผิดชอบในการจ่ายเงินเกษียณจากการท�างานว่า ผู้ร้องขาดคุณสมบัติ
ในการรับเงินเกษียณจากรัฐตามอายุท�างานส�าหรับเพศหญิงตามกฎหมายอังกฤษ
อีกทั้งผู้ร้องยังถูกบังคับให้จ่ายเงินประกันรถที่สูงขึ้นอันเนื่องจากบริษัทประกันเห็นว่า
ผู้ร้องยังคงเป็นเพศชาย ในส่วนของชีวิตการท�างาน ผู้ร้องอ้างว่าถูกคุกคามจากที่ท�างาน
และรัฐมิให้ความคุ้มครองเธอจากการเลือกปฏิบัติอย่างเหมาะสม ด้วยเหตุนี้ ผู้ร้อง
จึงเห็นว่าการที่รัฐปฏิเสธที่จะรับรองการเปลี่ยนเพศของเธอให้มีผลในทางกฎหมาย
ท�าเธอต้องประสบกับปัญหาการถูกเลือกปฏิบัติเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังท�าให้เธอ
เสื่อมเสียเกียรติแห่งความเป็นมนุษย ซึ่งเป็นประสบการณที่เธอต้องประสบจาก
การใช้ชีวิตประจ�าในทุก ๆ วัน กรณีจึงเป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวตามบทบัญญัติ
มาตรา 8 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป
ในเรื่องนี้ ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปพิจารณาแล้วเห็นว่า การกระท�าของ
ประเทศอังกฤษเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผล ทั้งที่ประเทศอังกฤษให้ความช่วยเหลือผู้ร้อง