Page 55 - kpiebook67026
P. 55

54     ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์




            2.3 การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในเรื่องอัตลักษณ์

            ทางเพศในระดับสากล

                   หากพิจารณาแนวทางการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในเรื่องอัตลักษณทางเพศ
            ในระดับสากลที่เกิดขึ้นในองคการสหประชาชาติ จะพบว่าองคการสหประชาชาติได้วาง

            หลักการคุ้มครองสิทธิในอัตลักษณทางเพศของบุคคลไว้อย่างกว้างขวางโดยครอบคลุม
            สาระส�าคัญหลายประการ กล่าวคือ องคการสหประชาชาติได้วางแนวทางว่า รัฐต้อง

            ก�าหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อรับรองสถานภาพทางกฎหมายให้บุคคลสามารถ
            เปลี่ยนเพศของตนได้โดยการออกใบรับรองสูติบัตรใหม่รวมทั้งก�าหนดกระบวนการ

            ส�าหรับการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณทางเพศในบัตรประชาชน ทั้งนี้ เพื่อสร้างหลักประกัน
            ว่าบุคคลดังกล่าวจะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และจะได้รับความเคารพต่อความสมบูรณ

            ในความเป็นมนุษย เมื่อรัฐให้การรับรองสิทธิในการเปลี่ยนชื่อและเพศของบุคคลข้ามเพศ
            และบุคคลอินเตอรเซ็กในเอกสารทางราชการ ย่อมมีผลเป็นการรับรองสถานภาพ

            ทางกฎหมายตามอัตลักษณทางเพศที่บุคคลนั้นพึงประสงค และท�าให้บุคคลดังกล่าว
            มีความสามารถในการใช้สิทธิต่าง ๆ บนพื้นฐานของอัตลักษณทางเพศที่กฎหมาย

            ให้การรับรอง รวมถึงสิทธิในการสมรสและก่อตั้งครอบครัวตามมาตรา 23 ของ
            กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองปี ค.ศ. 1966

            ซึ่งในเรื่องนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนขององคการสหประชาชาติเคยให้
            ความเห็นว่า เมื่อบุคคลข้ามเพศได้ท�าการแก้ไขอัตลักษณทางเพศใหม่ในใบสูติบัตร

            เรียบร้อยแล้ว ย่อมมีสิทธิในการสมรสและครอบครัวตามบทบัญญัติมาตรา 23
            ของกติกาฯ เช่นกัน


                   การวางแนวทางการคุ้มครองที่เกิดขึ้นในองคการสหประชาชาติ มีความ
            สอดคล้องกับแนวทางที่เกิดขึ้นในศาลระหว่างประเทศในภูมิภาคยุโรปซึ่งประกอบด้วย

            ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป (The European Court of Human Rights) และ

            ศาลยุติธรรมแห่งยุโรป (The European Court of Justice) ได้ยอมรับถึงการมีอยู่ของ
            อัตลักษณทางเพศของบุคคลและก�าหนดให้รัฐมีหน้าที่ต้องให้การรับรองและคุ้มครอง
            โดยสิทธิเช่นว่านี้ได้แก่ (1) สิทธิในการเปลี่ยนชื่อและค�าน�าหน้าเพศในเอกสารทางราชการ

            (right to change name and indication of sex on official documents) (2) สิทธิ

            ในการเข้าถึงการดูแลรักษาด้านสุขภาพรวมถึงการผ่าตัดแปลงเพศ (right to access to
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60