Page 50 - kpiebook67026
P. 50
49
ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งได้บัญญัติรับรองว่าบุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิ
ในการมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยรัฐมีหน้าที่
ก�าหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้บุคคลสามารถใช้สิทธิต่าง ๆ เหล่านี้ได้
ในเรื่องนี้ คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ได้อธิบายความหมายของค�าว่า “สิทธิในด้านสุขภาพ” ตามบทบัญญัติมาตรา 12
วรรคหนึ่งของกติกาฯ ไว้ว่า สิทธิดังกล่าวมิได้หมายความถึงสิทธิที่จะมีสุขภาพดี
แต่ความหมายของสิทธิดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานขององคประกอบอยู่ 2 ประการคือ
ประการแรก ในแง่ของการเป็นเสรีภาพ (Freedom) หมายถึงบุคคลย่อมมี
สิทธิในเสรีภาพที่จะควบคุมสุขภาพและร่างกายของตนเองรวมถึงเสรีภาพในเรื่องเพศ
และอนามัยเจริญพันธุ (Sexual and Reproductive Freedom) นอกจากนั้น
ยังหมายความรวมถึง เสรีภาพจากการถูกบังคับให้ท�าการรักษาหรือการกระท�าใด ๆ
อันเป็นการรักษาหรือทดลองด้วยวิธีการทรมาน
ประการที่สอง ในแง่ของการเป็นสิทธิที่ได้รับจากรัฐ (Entitlement) หมายถึง
รัฐมีหน้าที่ในการสร้างระบบการปกป้องคุ้มครองสุขภาพของบุคคล (System of Health
Protection) โดยจัดหาสิ่งอ�านวยความสะดวกแก่บุคคลโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ ดังนั้น บุคคลทุกคนจึงมีสิทธิในการเข้าถึงระบบการคุ้มครอง
สุขภาพอย่างเท่าเทียมกันตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยเหตุนี้ สิทธิด้าน
สุขภาพในแง่ของการเป็นสิทธิที่ได้รับจากรัฐ จึงประกอบด้วยสิทธิซึ่งเป็นสาระส�าคัญ
อยู่ 2 ประการคือ สิทธิในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอย่างเหมาะสม (Right to Access
to Appropriate Health Services) และสิทธิได้รับประกันสุขภาพจากรัฐ (Public Health
Insurance)
กล่าวได้ว่า สิทธิด้านสุขภาพจึงประกอบด้วยสิทธิต่าง ๆ ที่แยกย่อยแบ่งออก
ได้เป็น 2 ประการคือ 1) สิทธิในสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ ซึ่งเป็นสิทธิ
ในเสรีภาพของบุคคลที่จะควบคุมสุขภาพและร่างกายของตนเองรวมถึงเสรีภาพในเรื่อง
เพศและการสืบพันธุ รวมถึงสิทธิในเสรีภาพจากการถูกรักษาหรือการกระท�าใด ๆ อันเป็น
การรักษาหรือทดลองด้วยวิธีการทรมาน และ 2) สิทธิในการเข้าถึงและได้รับบริการ
ด้านสุขภาพตามมาตรฐานสูงสุด ซึ่งเป็นเรื่องที่บุคคลมีสิทธิได้รับบริการด้านสุขภาพ
อย่างเหมาะสม และได้รับประกันสุขภาพจากรัฐตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้