Page 46 - kpiebook67026
P. 46

45



                      ตัวอย่างเช่น การที่บุคคลก�าหนดอัตลักษณทางเพศและแสดงออกซึ่งอัตลักษณ
               ทางเพศของตนว่าเป็นบุคคลข้ามเพศในพื้นที่สาธารณะอย่างเปิดเผย ย่อมมีสิทธิที่จะ

               เปิดเผยตัวโดยไม่ต้องได้รับการลงโทษหรือจับกุมจากรัฐ และในขณะเดียวกันบุคคลข้ามเพศ
               ดังกล่าวย่อมมีสิทธิในการรับรองสถานภาพทางกฎหมายเพื่อให้ตนสามารถเข้าถึงและ

               ได้รับบริการจากรัฐ เช่น การท�างาน การรักษาสุขภาพ รวมถึงได้รับการศึกษาในฐานะ
               เป็นผู้บริโภคอย่างเท่าเทียมกับพลเมืองอื่น ๆ เป็นต้น ในกรณีที่รัฐปฏิเสธมิให้การรับรอง

               สถานภาพทางกฎหมายแก่บุคคลข้ามเพศจนเป็นเหตุให้บุคคลนั้นไม่อาจใช้สิทธิต่าง ๆ
               ได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น การจ�ากัดสิทธิดังกล่าวของรัฐจะต้องสามารถอธิบายได้ว่า

               เป็นไปโดยมีวัตถุประสงคเพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชนของสังคมภายในรัฐอย่างไร ซึ่งโดย
               ทั่วไปวัตถุประสงคเช่นว่านั้นมักครอบคลุมถึงความมั่นคงของรัฐ (National Security)

               ผลประโยชนสาธารณะ (Public Interest) ความสงบเรียบร้อยของประชาชน (Public
               Policy/ Public Order) ศีลธรรมอันดีของประชาชน (Morality) สุขภาพอนามัยของ

               ประชาชน (Public Health) ความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety) หรือป้องกัน
               สิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น (Protection of the Rights and Freedoms of

               Others) โดยกลุ่มผลประโยชนของรัฐเหล่านี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น “ความจ�าเป็น
               ในสังคมประชาธิปไตย (Necessary in a Democratic Society)” นอกจากนั้น

               รัฐต้องสามารถอธิบายได้ว่าการจ�ากัดสิทธิดังกล่าวมีความเหมาะสม (Principle of
               suitability) ที่จะบรรลุวัตถุประสงคที่ต้องการได้หรือไม่ รวมถึงเป็นมาตรการที่มี

               ผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลน้อยที่สุดตามความจ�าเป็น (Necessity) หรือไม่เพียงใด
               และเมื่อชั่งน�้าหนักระหว่างประโยชนที่มหาชนจะได้รับกับประโยชนที่บุคคลแต่ละคน

               ต้องเสียไปจากการบังคับใช้มาตรการเหล่านั้นแล้วประโยชนที่มหาชนจะพึงได้รับ
               ต้องมากกว่าความเสียหายเกิดขึ้นกับบุคคลหรือสังคมโดยรวม จึงจะถือว่ามาตรการ

               ดังกล่าวได้สัดส่วน (Proportionality) กับวัตถุประสงคที่ต้องการ




                     2.2.3 ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิในอัตลักษณ์ทางเพศ

                     กับสิทธิมนุษยชนเรื่องอื่น

                      เนื่องจากสิทธิในก�าหนดอัตลักษณทางเพศเป็นสิทธิมนุษยชนซึ่งประกอบไปด้วย
               1) สิทธิในการก�าหนดอัตลักษณทางเพศของตนเอง 2) สิทธิในการแสดงออก

               ซึ่งอัตลักษณทางเพศ และ 3) สิทธิในการตระหนักซึ่งอัตลักษณทางเพศของตนเอง
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51