Page 49 - kpiebook67026
P. 49
48 ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์
รับรองสิทธิของทุกคนในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอส�าหรับตนเองและครอบครัว
ซึ่งรวมถึงอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ และสภาพการครองชีพที่ดีขึ้น
อย่างต่อเนื่อง...” ดังนั้น สิทธิในมาตรฐานการครองชีพตามสมควรจึงเป็นสิทธิของ
บุคคลทุกคนในการเข้าถึงสินค้า และบริการส�าหรับการครองชีพที่มีมาตรฐานตามสมควร
ซึ่งรวมถึงกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศด้วย
ด้วยเหตุนี้ รัฐสมาชิกจึงมีพันธกรณีในการสร้างหลักประกันความคุ้มครองสิทธิ
ด้านการท�างาน และการได้รับผลประโยชนทางสังคมของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลาย
ทางเพศจากการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งวิถีทางเพศ และอัตลักษณทางเพศ
โดยการห้ามน�าเรื่องวิถีทางเพศ และอัตลักษณทางเพศมาใช้เป็นเหตุผลในการละเมิด
สิทธิในการท�างานและการได้รับสวัสดิการสังคม และสิทธิในการเข้าถึงสินค้าและบริการ
ส�าหรับการครองชีพที่มีมาตรฐานสมควร ซึ่งสิทธิดังกล่าวได้ถูกรับรองไว้ในหลักการ
ยอกยาการตาด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากหลักการข้อ 12 ถึง 15 โดยหลักการข้อ 12
ได้รับรองสิทธิในการท�างานไว้ว่า “มนุษยทุกคนมีสิทธิในการท�างานที่มีเกียรติและ
ก่อประโยชน มีบรรยากาศท�างานที่ยุติธรรมและเหมาะสม และได้รับความคุ้มครอง
จากการว่างงานโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากสาเหตุแห่งวิถีทางเพศและอัตลักษณทางเพศ”
หลักการข้อ 13 ได้รับรองสิทธิในประกันสังคม และมาตรการคุ้มครองทางสังคมอื่น ๆ
ไว้ว่า “มนุษยทุกคนมีสิทธิในการได้รับสวัสดิการสังคมและมาตรการคุ้มครองทางสังคม
อื่น ๆ โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติโดยการอ้างสาเหตุวิถีทางเพศและอัตลักษณทางเพศ”
หลักการข้อ 14 ได้รับรองสิทธิในมาตรฐานการครองชีพตามสมควรไว้ว่า “มนุษยทุกคน
มีสิทธิในการมีมาตรฐานการครองชีพตามอัตภาพรวมถึงการมีอาหารเพียงพอ
น�้าดื่มสะอาดปลอดภัย สุขอนามัยและเครื่องแต่งกายที่พอเพียง และได้รับการปรับปรุง
คุณภาพชีวิตโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากสาเหตุวิถีทางเพศและอัตลักษณทางเพศ”
และหลักการข้อ 15 ได้รับรองสิทธิในการมีที่อยู่อาศัยตามสมควรไว้ว่า “มนุษยทุกคน
มีสิทธิในการมีที่อยู่อาศัยตามฐานะ รวมถึงความคุ้มครองจากการถูกไล่ที่โดยไม่ถูกเลือก
ปฏิบัติโดยการอ้างสาเหตุวิถีทางเพศและอัตลักษณทางเพศ”
2.2.3.3 สิทธิด้านสุขภาพ
การรับรองสิทธิในเรื่องสุขภาพ (Right to Health) โดยองคการสหประชาชาติ
เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 12 วรรคหนึ่งของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ