Page 45 - kpiebook67026
P. 45

44     ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์



            unhindered) ในแง่นี้ พลเมืองของรัฐย่อมมีฐานะเป็นผู้บริโภคที่ได้รับความคุ้มครอง
            ภายใต้กฎหมาย บุคคลทุกคนจึงย่อมมีสิทธิพลเมืองในฐานะการเป็นผู้บริโภคที่มี

            อัตลักษณทางเพศ และมีรูปแบบการใช้ชีวิตเป็นของตนเอง ผ่านทางการซื้อสินค้าและ
            บริการต่างๆ ทั้งในพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะ ซึ่งการเป็นผู้บริโภคสินค้าและบริการ

            เหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นถึงตัวตนอัตลักษณ และรูปแบบการใช้ชีวิตของกลุ่มคนเหล่านี้ด้วย

                   จากที่ได้กล่าวมาจะเห็นว่า สิทธิในก�าหนดอัตลักษณทางเพศจึงเป็นสิทธิมนุษยชน

            อย่างหนึ่งซึ่งประกอบด้วยสิทธิแยกย่อยส�าคัญที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประการคือ
            1) สิทธิในการก�าหนดอัตลักษณทางเพศของตนเอง (The right to self-definition)

            2) สิทธิในการแสดงออกซึ่งอัตลักษณทางเพศ (The right to self-express) และ
            3) สิทธิในการตระหนักซึ่งอัตลักษณทางเพศของตนเอง (The right to self-realization)

            โดยสิทธิย่อย ๆ ดังกล่าวนี้จะมีความสัมพันธเชื่อมโยงกับสิทธิมนุษยชนในเรื่องอื่น ๆ
            อย่างเป็นระบบ


                   อย่างไรก็ตาม สิทธิในอัตลักษณทางเพศของบุคคลจะถูกจ�ากัดจากรัฐได้
            มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับว่า สิทธิในอัตลักษณทางเพศดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกับ

            สิทธิมนุษยชนเรื่องอื่นใด กล่าวคือ หากการใช้สิทธิในอัตลักษณทางเพศมีความสัมพันธ
            กับสิทธิมนุษยชนที่เป็นสิทธิตามธรรมชาติที่ติดตัวบุคคลทุกคนมาแต่ก�าเนิด เช่น สิทธิ

            ในชีวิตและร่างกาย สิทธิในเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย และสิทธิในเสรีภาพ
            จากการกระท�าทารุณกรรมและการปฏิบัติที่โหดร้าย กรณีนี้รัฐไม่อาจแทรกแซงหรือ

            จ�ากัดได้หรือที่เรียกว่าสิทธิสัมบูรณ (Absolute Rights) ดังนั้น เมื่อสิทธิในการก�าหนด
            อัตลักษณทางเพศถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิในชีวิตและร่างกาย ย่อมต้องถือว่า

            รัฐไม่อาจแทรกแซงหรือจ�ากัดสิทธิในการก�าหนดอัตลักษณทางเพศได้ไม่ว่ารัฐจะตกอยู่
            ในสถานการณเช่นไรนั่นเอง ในทางกลับกัน สิทธิในการแสดงออกซึ่งอัตลักษณทางเพศ

            และสิทธิในการตระหนักซึ่งอัตลักษณทางเพศของตนเองในพื้นที่สาธารณะจัดว่าเป็น
            สิทธิพลเมืองอย่างหนึ่งที่รัฐอาจแทรกแซง หรือจ�ากัดได้โดยบทบัญญัติของกฎหมาย

            โดยมีเหตุผลส�าคัญเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของบุคคลอื่นหรือเพื่อคุ้มครองผลประโยชน
            ของรัฐ ดังนั้น การรับรองสิทธิต่างๆ เหล่านี้จึงมีขอบเขตภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายก�าหนด

            ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามหลักความสมควรแก่เหตุ และหลักการคุ้มครอง
            สารัตถะแห่งสิทธิและเสรีภาพ หรือที่เรียกว่า “หลักนิติรัฐ” อีกด้วย
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50