Page 47 - kpiebook67026
P. 47

46     ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์



            อย่างไรก็ตาม สิทธิแยกย่อยต่างๆ เหล่านี้มิอาจด�ารงอยู่ได้โดยล�าพัง หากแต่ต้องได้รับ
            การค�้ายันสนับสนุนจากสิทธิมนุษยชนในเรื่องอื่น ๆ จึงจะท�าให้สิทธิในอัตลักษณทางเพศ

            ของบุคคลเกิดขึ้นโดยสมบูรณ สิทธิในอัตลักษณทางเพศจึงมีความสัมพันธเชื่อมโยง
            กับสิทธิมนุษยชนในเรื่องอื่น ๆ อย่างเป็นระบบ อาทิ สิทธิในฐานะเป็นพลเมืองของรัฐ

            สิทธิในทางการเมือง สิทธิในทางเศรษฐกิจ สิทธิในทางสังคม และสิทธิในทางวัฒนธรรม
            ซึ่งในหัวข้อนี้ผู้วิจัยจ�ากัดการศึกษาไว้เพียงเฉพาะสิทธิในเรื่องที่มีความส�าคัญเท่านั้น

            โดยแบ่งออกได้เป็น 5 ประเด็นคือ สิทธิในการรับรองสถานภาพทางกฎหมาย
            สิทธิในการท�างาน สิทธิในสุขภาพ สิทธิในการศึกษา และสิทธิในเสรีภาพเกี่ยวกับ

            การแสดงออก การก่อตั้งสมาคม และการชุมนุมโดยสงบ ซึ่งมีรายละเอียดที่ส�าคัญ ดังนี้

                   2.2.3.1 สิทธิในการรับรองสถานภาพทางกฎหมาย


                   การรับรองสถานภาพทางกฎหมายของบุคคลข้ามเพศและบุคคลอินเตอรเซ็ก
            ในองคการสหประชาชาติ เกิดขึ้นจากการรับรองว่าบุคคลย่อมมีสิทธิในเรื่องอัตลักษณ

            ทางเพศ (Right to Gender Identity) ซึ่งเป็นสิทธิที่มีรากฐานส�าคัญมาจากสิทธิ
            ในความเป็นส่วนตัว (Rights to Privacy) สิทธิในความเสมอภาค (Equality) และ

            สิทธิในการรับรองทางกฎหมาย (Right to Recognition before the Law) กล่าวคือ
            เนื่องจากอัตลักษณทางเพศเป็นสิ่งที่มีความใกล้ชิดกับชีวิตส่วนตัว และก่อให้เกิด

            เป็นบุคลิกภาพของบุคคลองคการสหประชาชาติจึงให้การรับรองว่า อ�านาจตัดสินใจ
            และทางเลือกในการด�าเนินชีวิตของบุคคลในเรื่องอัตลักษณทางเพศเป็นส่วนหนึ่งของ

            ชีวิตส่วนตัว (Private Life) ซึ่งอยู่ในขอบเขตของสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลและ
            ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 17 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ

            สิทธิทางการเมือง ปี ค.ศ. 1966 นอกจากนั้น ตามมาตรา 16 ของกติกาฯ ได้บัญญัติว่า
            บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายในฐานะบุคคล


                   ดังนั้น บุคคลทุกคนไม่ว่าจะมีวิถีทางเพศหรืออัตลักษณทางเพศในรูปแบบใด

            ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทั้งสิ้น ในเรื่องนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
            ขององคการสหประชาชาติได้ให้การรับรองว่าอัตลักษณทางเพศของบุคคลข้ามเพศ
            และบุคคลอินเตอรเซ็กเป็นสิ่งที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย รัฐจึงมีหน้าที่ให้

            การรับรองอัตลักษณทางเพศในทางกฎหมายตามความประสงคของบุคคลข้ามเพศ

            และบุคคลอินเตอรเซ็ก
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52