Page 44 - kpiebook67026
P. 44
43
สิทธิในการก�าหนดอัตลักษณทางเพศจึงเป็นสิทธิตามธรรมชาติของทุกคน
โดยรัฐอาจไม่แทรกแซงหรือจ�ากัดสิทธิดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม การใช้สิทธิในการก�าหนด
อัตลักษณทางเพศของบุคคล จ�าเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากสิทธิในการแสดงออก
ซึ่งตัวตนทางเพศของบุคคลอีกด้วย
2.2.2.2 สิทธิในการแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง
(The right to self-express)
สิทธิในการแสดงออกซึ่งอัตลักษณทางเพศนี้ หมายถึง สิทธิจะได้รับการยอมรับ
ในอัตลักษณทางเพศของตนจากสังคมหรือในที่สาธารณะ (right to public/social
recognition of specific sexual identities) โดยบุคคลนั้นอาจแสดงออกซึ่งอัตลักษณ
ทางเพศที่เป็นไปโดยสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับเพศสรีระตามก�าเนิด เพื่อสร้าง
ความสัมพันธกับบุคคลอื่นตามที่บุคคลนั้นคิดว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมก็ได้ โดยทั่วไปแล้ว
การใช้สิทธิในการแสดงออกซึ่งตัวตนทางเพศมักเป็นเรื่องภายในขอบเขตพื้นที่ส่วนตัว
(private sphere) อย่างไรก็ตาม เมื่อบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในฐานะเป็นพลเมือง
ของรัฐ ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับอัตลักษณ และรูปแบบของการใช้ชีวิตทางเพศ
ของตนเองในพื้นที่สาธารณะด้วยเช่นกัน ดังนั้น สิทธิในอัตลักษณทางเพศ จึงมี
ความหมายครอบคลุมถึงสิทธิในการก�าหนดตนเอง และวิถีชีวิตของตนในที่สาธารณะ
(public identity and lifestyle) ด้วย กล่าวคือ หากบุคคลใดสามารถก�าหนดอัตลักษณ
ทางเพศในที่สาธารณะว่าตนเป็นชายรักชาย หญิงรักหญิง ชายข้ามเพศ หญิงข้ามเพศ
หรือเป็นบุคคลอินเตอรเซ็กได้ ฯลฯ บุคคลนั้นย่อมมีความสามารถในการแสดงออก
ซึ่งความเป็นอัตลักษณทางเพศให้สาธารณะเป็นที่ประจักษได้เช่นกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง
คือ บุคคลนั้นมีสิทธิที่จะเปิดเผยตัวโดยไม่ต้องได้รับการลงโทษนั่นเอง (right to be
out with impunity)
2.2.2.3 สิทธิในการตระหนักซึ่งอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง
(The right to self-realization)
สิทธิในการตระหนักซึ่งอัตลักษณทางเพศของตนเอง ถือเป็นสิทธิที่มีความ
เกี่ยวพันใกล้ชิดกับสิทธิในการแสดงออกซึ่งอัตลักษณทางเพศของบุคคล เนื่องจาก
สิทธิดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในการพัฒนาอัตลักษณทางเพศของตนโดยปราศจาก
การซ่อนเร้นหรือปิดบัง (right to development diverse sexual identities in an