Page 42 - kpiebook67026
P. 42

41



               ปี ค.ศ. 1951 ว่าบทบัญญัติดังกล่าวก�าหนดให้รัฐมีหน้าที่ต้องให้ความเคารพ
               ความเป็นส่วนตัวของบุคคลในขอบเขตเรื่องชีวิตส่วนตัวและชีวิตครอบครัว เคหสถาน

               และการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ทั้งนี้เพื่อปกป้องคุ้มครองปัจเจกบุคคลจาก
               การแทรกแซงของรัฐซึ่งเกิดจากการใช้อ�านาจตามอ�าเภอใจ และจากการกระท�า

               อันไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยค�าว่า “ชีวิตส่วนตัว (Private life)” ไม่เพียงแต่หมายถึง
               การใช้ชีวิตในพื้นที่ส่วนตัวของตนเองเท่านั้น หากแต่ยังหมายถึงสิทธิในการก่อตั้ง

               และพัฒนาความสัมพันธระหว่างบุคคลนั้นกับบุคคลอื่นด้วย นอกจากนั้นแล้ว สิทธิ
               ในความเป็นส่วนตัวยังหมายความถึง การให้ความเคารพต่ออัตลักษณทางร่างกาย

               และทางสังคมของบุคคล (Physical and Social Identity) ตัวอย่างเช่น การระบุตัวตน
               ในทางเพศ (Gender Identification) ชื่อ (Name) วิถีทางเพศ (Sexual Orientation)

               และชีวิตทางเพศ (Sexual life) ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนอยู่ในขอบเขตพื้นที่ความเป็น
               ส่วนตัวของบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา 8 ของอนุสัญญาฯ ทั้งสิ้น


                      จากการศึกษาแนวทางการตีความของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป พบว่า
               การก�าหนดขอบเขตความเป็นส่วนตัวตามบทบัญญัติมาตรา 8 ของอนุสัญญาฯ

               เกิดขึ้นจากการที่ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปอาศัยข้อความคิดว่าด้วยเรื่องศักดิ์ศรี
               ความเป็นมนุษย (Dignity) และอ�านาจอิสระของบุคคล (Personal Autonomy)

               เป็นกรอบแห่งการตีความ ซึ่งข้อความคิดในเรื่องดังกล่าวถือเป็นหัวใจส�าคัญ หรือ
               เป็นศูนยกลางของเสรีภาพของบุคคล และถือเป็นหลักกฎหมายส�าคัญที่ก่อให้เกิด

               สิทธิต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัวตามมาอีกหลายประการ รวมถึงการคุ้มครอง
               วิถีทางเพศ และอัตลักษณทางเพศด้วย


                      จากที่ได้กล่าวมา จึงเห็นได้ว่า “อัตลักษณ์ทางเพศ” ถือเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิ
               ในความเป็นส่วนตัวซึ่งได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ





                     2.2.2 ขอบเขตของสิทธิในอัตลักษณ์ทางเพศ

                      การพิจารณาขอบเขตสิทธิในอัตลักษณทางเพศ มีความสัมพันธกับที่มา
               หรือประวัติศาสตรการเกิดขึ้นของสิทธิดังกล่าว หากพิจารณาจากประวัติศาสตรของ

               การเรียกร้องสิทธิในอัตลักษณทางเพศจะพบว่า การน�าอัตลักษณของบุคคลมาใช้
               เป็นฐานในการเรียกร้องสิทธิทางเพศ เริ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงปี ค.ศ. 1970-1980
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47