Page 38 - kpiebook67026
P. 38

37



               รักเพศเดียวกัน (Homosexuality) การยอมรับเพศวิถีของคนที่ไม่ใช่ญาติสืบสายเลือด
               และรับไม่ได้กับเพศวิถีของคนที่เป็นญาติสืบสายเลือดเดียวกัน การยอมรับการเรียนรู้

               เรื่องเพศในพื้นที่ส่วนตัวและบริบทของการแต่งงาน และไม่ยอมรับการบริโภคสื่อโป๊
               ซึ่งนอกจากการรับไม่ได้เหล่านี้จะมีผลท�าให้เกิดข้อห้าม (Taboo) ในระบบสังคม

               วัฒนธรรมของมนุษย โดยเฉพาะในมิติของเพศวิถีแล้วนั้น หากสมาชิกในสังคม
               ยังคงฝืนกระท�า หรือปฏิบัติในข้อห้ามเหล่านั้นก็ย่อมมีการลงโทษ หรือไม่ยอมรับ

               เกิดขึ้นตามมา โดยอาศัยอ�านาจ และความชอบธรรมจากโครงสร้างที่มีการแบ่งออก
               เป็นคู่ตรงข้ามเหล่านั้นนั่นเอง


                      การวิพากษการประกอบสร้างระบบโครงสร้างที่ถูกแบ่งออกเป็นคู่ตรงข้ามนี้เอง
               ได้กลายเป็นแนวทาง หรือกลยุทธในการวิเคราะห หรือต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมกัน

               ที่เกิดขึ้นของกลุ่มแนวคิดของส�านักคิดสายหลังสตรีนิยม (Post-feminism) และ
               หลังอาณานิคมนิยม (Post-colonialism) ที่ต่างใช้เป็นวิธีในการท้าทาย ซึ่งการรับรู้

               การแบ่งแยกคู่ตรงข้ามของผู้ชายกับผู้หญิง อันเป็นที่มาของความไม่เท่าเทียมกันตามมา
               นอกจากนี้การประกอบสร้างซึ่งระบบโครงสร้างที่ถูกแบ่งออกเป็นคู่ตรงข้ามยังเป็น

               มิติหนึ่งที่ส�าคัญยิ่งของกระบวนการ “รื้อสร้าง (Deconstruction)” ซึ่งเป็นวิธีหนึ่ง
               ที่ส�าคัญยิ่งในการวิพากษ หรือวิเคราะหตัวบทต่าง ๆ (Text) ของนักคิดชาวฝรั่งเศส

               ที่ชื่อ แจค ดาริดา (Jacques Derrida)

                      เพราะฉะนั้นเพศวิถี ซึ่งก็ถูกประกอบสร้างทางสังคม และมีการให้ความหมาย

               ที่แตกต่างกันในแต่ละเพศภาวะ ต่างก็ได้รับอิทธิพลจากช่วงเวลาทางประวัติศาสตร
               และวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ ได้มีการจ�าแนก และก�าหนดมาตรฐาน หรือแนวทาง

               การปฏิบัติที่เป็นกระแสหลักของสังคมว่า รูปแบบใดถือว่าปกติ รูปแบบใดถือว่าไม่ปกติ
               ก็เป็นมิติที่ส�าคัญ และมีอิทธิพลยิ่งในการอธิบายปรากฏการณการข่มขืนผู้ร่วมสายเลือด

               ในการศึกษาครั้งนี้ด้วยเช่นกัน




               2.2 แนวคิดสิทธิมนุษยชนในเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศ

                      การศึกษาสิทธิมนุษยชนในเรื่องอัตลักษณทางเพศในหัวข้อนี้ จ�าแนกขอบเขต

               การศึกษาโดยแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นคือ อัตลักษณทางเพศกับความเป็นส่วนตัว
               ของบุคคล และขอบเขตของสิทธิในอัตลักษณทางเพศ ซึ่งมีรายละเอียดที่ส�าคัญ ดังนี้
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43