Page 36 - kpiebook67026
P. 36
35
2.1.1 แบบจ�าลองของการประกอบสร้างทางสังคม (Social
Construction Model: ค.ศ. 1975 – 1990)
ทฤษฎีนี้เชื่อว่าเพศวิถีเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างปัจจัยทางประวัติศาสตรและ
วัฒนธรรม ซึ่งพฤติกรรมทางเพศ (Sexual Acts) จะมีนัยทางสังคมและการให้ความหมาย
ของแต่ละบุคคลที่หลากหลาย และแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาทางประวัติศาสตร
และวัฒนธรรมในการให้ค�าจ�ากัดความ และการท�าความเข้าใจพฤติกรรมทางเพศนั้น ๆ
เนื่องจากพฤติกรรมทางเพศไม่ได้มีความหมายที่เป็นสากล ดังนั้น ความสัมพันธระหว่าง
พฤติกรรมทางเพศกับการให้ความหมายในเรื่องเพศสัมพันธ (Sexual Meaning)
จึงไม่มีความตายตัว ขึ้นอยู่กับว่าผู้สังเกตการณอยู่ในช่วงเวลาใด และสถานที่ใด
ซึ่งการประกอบสร้างทางสังคมนอกจากจะมีอิทธิพลต่อวิธีคิด และวิธีปฏิบัติของ
บุคคลแล้วยังสามารถเป็นตัวก�าหนด (Organize) และให้ความหมาย (Meaning)
ที่มีอิทธิพลต่อการให้ค�าจ�ากัดความ (Definitions) อุดมการณ (Ideologies) และ
ระเบียบกฎเกณฑต่าง ๆ (Regulations) เกี่ยวกับเพศวิถี (Sexuality) รวมทั้งการสร้าง
อัตลักษณทางเพศ (Sexual Identities) จากประสบการณทางเพศของกลุ่มบุคคลอีกด้วย
นอกจากนี้ยังเชื่อว่า ประเด็นทางด้านกามารมณ เช่น กรณีของรักต่างเพศ
รักร่วมเพศ และรักสองเพศ ไม่ได้เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเองจากตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
แต่เป็นการสร้างที่ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัวที่มีรูปแบบหลากหลาย
ซึ่งทฤษฎีนี้ไม่ยอมรับว่าแรงขับทางเพศ (Sexual Impulse, Sex Drive or Lust)
ในร่างกายมนุษยเกิดขึ้นจากการท�าหน้าที่ และความรู้สึกของปัจจัยทางด้านสรีระวิทยา
ภายในร่างกาย และเชื่อว่าความปรารถนาทางเพศ (Sexual Desire) ของมนุษยถูกสร้างขึ้น
โดยปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม และประวัติศาสตรที่มีอิทธิพลต่อก�าลังความสามารถ
(Energies) และสมรรถภาพ (Capacities) ของร่างกาย
2.1.2 แบบจ�าลองอิทธิพลทางวัฒนธรรม (Cultural
Influence Model: ค.ศ. 1920 – 1990)
ทฤษฎีนี้เชื่อว่า เพศวิถีเปรียบเสมือนปัจจัยพื้นฐาน (Basic Material) ในการท�า
หน้าที่ทางวัฒนธรรม ดังนั้น จึงให้ความส�าคัญกับบทบาทของวัฒนธรรมและการเรียนรู้