Page 37 - kpiebook67026
P. 37

36     ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์



            ในการก่อร่างสร้างพฤติกรรมทางเพศ และเจตคติต่าง ๆ ในเรื่องเพศ ซึ่งวัฒนธรรมนั้น
            สามารถเป็นได้ทั้งกระตุ้น หรือยับยั้งการแสดงออกของพฤติกรรมทางเพศ เจตคติ

            และความสัมพันธทางเพศ เช่น การมีเพศสัมพันธของกลุ่มบุคคลรักต่างเพศ โดยใช้
            ปากกับอวัยวะเพศ ถือเป็นการแสดงออกที่เป็นปกติของบุคคลกลุ่มหนึ่ง แต่ถือเป็น

            ข้อห้าม หรือเป็นความผิดปกติส�าหรับบุคคลกลุ่มอื่น รวมทั้งกลุ่มชายรักร่วมเพศ
            ที่บางสังคมถือว่าเป็นพฤติกรรมที่สมควรได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง แต่กลับยอมรับได้

            ในสังคมอื่น เป็นต้น

                   รูทธ์ ดิ๊กสัน – เมอเลอร์ (Ruth Dixon – Mueller) กล่าวว่า การให้ความหมาย

            ของค�าว่า “เพศวิถี (Sexuality)” นั้น มีความแตกต่างกันตามบริบทของสังคม
            และวัฒนธรรมที่ต่างกัน ซึ่งในงานเขียนทางด้านสังคมวิทยา และมานุษยวิทยานั้น

            ได้ก�าหนดองค์ประกอบหลักของเพศวีถี (Sexuality) ไว้ด้วยกัน 4 องคประกอบ คือ
            คู่ของการมีเพศสัมพันธ (Sexual Partnerships) พฤติกรรมทางเพศ (Sexual Acts)

            การให้ความหมายในเรื่องเพศสัมพันธ (Sexual Meaning) และแรงขับทางเพศ
            และความสนุกสนานเพลิดเพลิน (Sexual Drives and Enjoyment)


                    นอกจาก นักคิดชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ แจค ดาริดา (Jacques Derrida) ได้แสดง
            ให้เห็นว่า ระบบเพศวิถีจะเป็นระบบที่มีด�ารงอยู่ และมีอิทธิพลอย่างยิ่งกับวิถีทาง

            ด�ารงชีวิตของปัจเจกบุคคลในสังคมทุกคนแล้วนั้น ระบบเพศวิถีเองยังเป็นโครงสร้าง
            ในระดับของโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรมของมนุษยด้วยเช่นกัน ซึ่งตามแนวคิดหลัก

            ของส�านักคิดหลังโครงสร้างนิยม (Post-structuralism) ที่มองว่าระบบโครงสร้างของ
            สังคมวัฒนธรรมล้วนแล้วแต่ถูกประกอบสร้างให้มีลักษณะที่ถูกแบ่งออกเป็นคู่ตรงข้าม

            (Binary opposition or Dichotomy) โดยที่ฝ่ายหนึ่งจะมีบทบาทในการครอบง�า และ
            มีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่ง อันส่งผลให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันเกิดขึ้น ซึ่งระบบเพศวิถีเอง

            ก็มีการรับรู้ และให้คุณค่าความหมายในลักษณะของคู่ตรงข้ามของความเป็นธรรมชาติ
            กับความผิดธรรมชาติ ความปกติกับความผิดปกติ ความธรรมดาทั่วไปกับความพิลึก

            พิสดาร เป็นต้น ซึ่งระบบสังคมวัฒนธรรมของคนเราก็จะให้การยอมรับในสิ่งที่ถูกประกอบ
            สร้างให้เป็นสิ่งที่ธรรมดา ธรรมชาติ และความปกติ และจะรับไม่ได้หรือกลายเป็น

            ข้อห้ามในการปฏิบัติส�าหรับสิ่งที่มีความตรงกันข้ามกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น การยอมรับ
            และรับรู้เพศวิถีแบบรักต่างเพศ (Heterosexuality) และไม่ยอมรับเพศวิถีแบบ
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42