Page 35 - kpiebook67026
P. 35
34 ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์
ด�ารงอยู่ที่สถาบันเดียวแต่กระจายอยู่ทุกมุมของสังคม เพราะฉะนั้นการแก้ไขความเป็นรอง
ของผู้หญิงทางการเมือง หรือเศรษฐกิจเพียงด้านเดียวไม่ได้ท�าให้สถานะของผู้หญิงดีขึ้น
อย่างแท้จริง ผู้หญิงจึงจ�าเป็นต้องคัดค้านความรู้ วาทกรรมของอ�านาจที่ท�าให้ผู้หญิง
ด้อยกว่าผู้ชายในทุก ๆ ที่ในสังคม และในส่วนที่สตรีนิยมได้รับอิทธิพลจากแนวคิด
ของเดอรริดา เสนอให้มีการรื้อสร้าง (deconstruction) ศูนยกลางอยู่ที่ความเป็นชาย
และเป็นคู่ตรงข้าม มนุษยต้องคิดถึงแนวคิดใหม่ที่แตกต่างออกไป และต้องปลดปล่อย
ตนเองจากความเชื่อในเรื่องการมีความจริงหนึ่งเดียว เพื่อเป็นการเปิดทางให้ทางเลือก
ที่เป็นไปได้อื่น ๆ สตรีนิยมต้องให้ความส�าคัญกับโครงสร้างใหม่ของความจริงที่
หลากหลาย เสียงที่หลากหลายในทางเพศ ความแตกต่าง วาทกรรมที่ไม่มีศูนยกลาง
ไม่ใช่เป็นทั้งความเป็นชายหรือความเป็นหญิง ปฏิเสธในเรื่องความเป็นสากลของ
ผู้หญิง ให้ความส�าคัญกับความแตกต่างของผู้หญิง รวมทั้งความหลากหลายที่มีอยู่
ในผู้หญิงแต่ละคน
แนวคิดสตรีนิยมหลังสมัยใหม่ก็มีความสนใจ และมีคุณูปการต่อการศึกษา
เรื่องเพศวิถี (Sexuality) เพราะเพศวิถีก็เป็นส่วนหนึ่งของวาทกรรม และอรรถาธิบาย
ที่สร้างความไม่เท่าเทียมกับคนในสังคม อีกทั้งเพศวิถีก็ถูกควบคุมก�ากับโดยระบบ
จริยธรรมด้วยเช่นกัน ซึ่งเพศวิถี หมายถึง ความคิด ความเชื่อ ความรู้สึก หรือแรงกระตุ้น
ในเรื่องเพศ เพื่อตอบสนองอารมณเพศ โดยการปฏิบัติทางเพศของบุคคล ซึ่งมีปัจจัย
ที่เกี่ยวข้อง คือ ปัจจัยทางด้านชีววิทยาหรือสรีระวิทยา ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา สังคม
วัฒนธรรม ศาสนา ประวัติศาสตร และขึ้นอยู่กับบริบทของผู้ปฏิบัติทางเพศ ซึ่งเป็น
รูปแบบที่ก�าหนดขึ้นจากลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม หรือเป็นการสร้างทางสังคม
นั่นเอง
ในขณะที่สตีวี่ แจ๊คสัน (Stevi Jackson) ได้อธิบายถึงค�าว่า “เพศวิถี
(Sexuality)” ไว้ว่า หมายถึง อัตลักษณเชิงอารมณรักใคร่ ความปรารถนา และ
ปฏิบัติการทางเพศ ซึ่งถูกสังคมได้ให้ความหมายว่าเป็นปกติและผิดปกติ เช่น การมี
เพศสัมพันธผ่านช่องคลอดของผู้หญิง ถือว่าเป็นการปฏิบัติทางเพศที่เป็นปกติ
นอกนั้นเป็นความผิดปกติหรือที่เรียกกันว่า ความเบี่ยงเบนทางเพศ โดยแครอลล
เอส แวนซ (Carole S. Vance) กล่าวถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเพศวิถี (Sexuality)
ว่ามีด้วยกัน 2 ทฤษฎี คือ