Page 41 - kpiebook67026
P. 41
40 ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์
ชีวิตส่วนตัวทางเพศ เช่น การแสดงตัวตนของบุคคลรักเพศเดียวกัน หรือบุคคลข้ามเพศ
ในพื้นที่สาธารณะ เป็นต้น
2.2.1.2 สิทธิในความเป็นส่วนตัวเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศ
ในองคการสหประชาชาติให้การยอมรับว่า “ความเป็นส่วนตัว” ถือเป็น
สิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งที่มีการรับรองไว้ใน มาตรา 17 ของกติการะหว่างประเทศ
ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ซึ่งได้วางหลักการห้ามมิให้
มีการแทรกแซงความเป็นส่วนตัว ครอบครัว เคหสถาน หรือการติดต่อสื่อสาร
โดยพลการหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งให้การรับรองว่าบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับ
ความคุ้มครองตามกฎหมายจากการแทรกแซงสิทธิในความเป็นส่วนตัว โดยในเรื่องนี้
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนขององคการสหประชาชาติเคยตีความว่า “ความเป็น
ส่วนตัว (Privacy) ตามมาตรา 17 ของกติกาฯ หมายถึง พื้นที่ชีวิตส่วนตัวของบุคคล
ซึ่งบุคคลนั้นสามารถแสดงออกซึ่งอัตลักษณความเป็นตัวตนของบุคคลนั้น รวมถึง
ความสามารถในการสร้างความสัมพันธกับบุคคลหรือการอยู่อาศัยตามล�าพัง”
นอกจากนั้น สิทธิในความเป็นส่วนตัว จึงหมายความรวมถึงสิทธิในความแตกต่าง
ระหว่างบุคคล (Right to be Different) อีกด้วย
ในขณะที่ฝั่งทวีปยุโรป การให้ความคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของบุคคล
เป็นตามมาตรา 8 ของ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป ค.ศ. 1951 ซึ่งมี
ขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมความเป็นส่วนตัวของบุคคลในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ สิทธิ
ในร่างกายซึ่งรวมถึงอัตลักษณและวิถีทางการด�าเนินชีวิตของบุคคล รวมถึงเพศวิถี
ของบุคคล ชื่อเสียงของบุคคล ชีวิตครอบครัว สิทธิในที่อยู่อาศัยซึ่งรวมถึงสภาพแวดล้อม
ในที่อยู่อาศัย และรวมถึงการติดต่อสื่อสารของบุคคลทุกรูปแบบ ซึ่งจากบทบัญญัติ
มาตรา 8 (1) ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปอาจแยกสิทธิหรือผลประโยชน
ที่ได้รับความคุ้มครองออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ (1) การให้ความเคารพต่อชีวิตส่วนตัว
(2) การให้ความเคารพต่อชีวิตครอบครัว (3) การให้ความเคารพต่อสิทธิในที่อยู่อาศัย และ
(4) การให้ความเคารพต่อสิทธิในการติดต่อสื่อสารและข้อมูลอันเป็นความลับของบุคคล
ในทางปฏิบัตินั้น ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปได้อธิบายถึงความเป็นส่วนตัว
ตามบทบัญญัติมาตรา 8 วรรคหนึ่งของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป