Page 43 - kpiebook67026
P. 43

42     ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์



            โดยเริ่มขึ้นตั้งแต่ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1960 ถึงช่วงต้นปี ค.ศ. 1970 ได้เกิดการเดินขบวน
            เพื่อเรียกร้องสิทธิเกยในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ในแถบทวีปยุโรป

            โดยการเดินขบวนรณรงคในช่วงเวลานั้นถือได้ว่าเป็นการเรียกร้องสิทธิในนามของ
            “กลุ่มบุคคลรักเพศเดียวกัน (Homosexual)” วัตถุประสงคของการเคลื่อนไหวในช่วง

            เวลานั้นคือ การเรียกร้องให้รัฐยกเลิกบทบัญญัติของกฎหมายอาญาซึ่งมีบทลงโทษ
            หรือห้ามมิให้บุคคลมีเพศสัมพันธกับบุคคลซึ่งเป็นเพศเดียวกัน และเรียกร้องมิให้

            มีการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลเพราะการมีอัตลักษณเป็นชายรักชายหรือหญิงรักหญิง
            อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า การเคลื่อนไหวในช่วงเวลานี้มิได้เป็นการเรียกร้องให้มี

            การเคารพสิทธิเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธระหว่างบุคคลเพศเดียวกัน ในฐานะที่เป็น
            เรื่องส่วนตัวของบุคคล แต่เป็นการแสดงออกซึ่งสิทธิในเสรีภาพทางเพศของบุคคล


            อันเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการถูกกีดกันของสังคมในช่วงเวลานั้นสิ่งเหล่านี้สะท้อน
            ให้เห็นว่าเป้าหมายส�าคัญของการเคลื่อนไหวของกลุ่มเกยเป็นไปเพื่อต้องการแสดง

            ให้เห็นถึงเพศวิถีของตนเองโดยการออกมาแสดงตัวตนในพื้นที่สาธารณะ (Coming out)
            เพื่อบ่งบอกให้สาธารณะชนรับรู้ถึงการมีอัตลักษณเป็นชายรักชายหรือหญิงรักหญิง

            ของตน ซึ่งการเดินรณรงคดังกล่าวน�ามา ซึ่งการยกเลิกกฎหมายซึ่งเป็นปรปักษกับ
            คนกลุ่มนี้ และการบัญญัติกฎหมายใหม่เพื่อคุ้มครองบุคคลกลุ่มนี้จากการต่อต้าน

            ของสังคม

                   จากความในข้างต้น ขอบเขตแห่งสิทธิในอัตลักษณทางเพศอาจแยกพิจารณา

            โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ประการคือ

                   2.2.2.1 สิทธิในการก�าหนดอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง (The right

            to self-definition)

                   การก�าหนดอัตลักษณทางเพศของบุคคล ถือเป็นการใช้สิทธิในการก�าหนด

            ตนเองเกี่ยวกับเรื่องเพศ (The right to sexual self-definition) เพื่อพัฒนาเป็น

            อัตลักษณทางเพศของตน (individual sexual identities) การใช้สิทธิในการก�าหนด
            ตนเองจึงมุ่งหมาย เพื่อก�าหนดว่าตนเองเป็นใครมากกว่าจะพิจารณาจากวิธีปฏิบัติ
            ทางเพศของบุคคลนั้น ดังนั้น สิทธิในอัตลักษณทางเพศในแง่ของการเป็นสิทธิ

            ในการก�าหนดตนเอง จึงเป็นการก�าหนดเพศสภาพของตนเองโดยมีรากฐานส�าคัญ

            มาจากอัตลักษณทางเพศของบุคคลนั้น
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48