Page 48 - kpiebook67026
P. 48

47



                      โดยสิทธิดังกล่าวได้ถูกรับรองไว้ในหลักการยอกยาการตาฉบับปี ค.ศ. 2007
               ด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากหลักการข้อ 3 ซึ่งก�าหนดถึงสิทธิในการรับรองทางกฎหมาย

               (The right to recognition before the law) ไว้ว่า “มนุษยทุกคนมีสิทธิได้รับ
               ความคุ้มครองตามกฎหมายในฐานะบุคคล ในทุกแห่งหน ผู้ที่มีวิถีทางเพศและอัตลักษณ

               ทางเพศทุกรูปแบบต้องได้รับสิทธิทางกฎหมายในทุกด้านของชีวิต วิถีทางเพศ และ
               อัตลักษณทางเพศที่แต่ละคนก�าหนดเอง ย่อมเป็นส่วนส�าคัญของบุคลิกภาพ และเป็น

               ปัจจัยพื้นฐานส�าคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการก�าหนด วิถีชีวิต ศักดิ์ศรีและเสรีภาพ...”

                      2.2.3.2 สิทธิด้านการท�างาน


                      การรับรองสิทธิในการท�างาน (Right to Work) ในองคการสหประชาชาติ
               เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 6 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ

               สังคมและวัฒนธรรม ปี ค.ศ. 1966 ซึ่งวางหลักการรับรองสิทธิในการท�างานของบุคคล
               ทุกคน รวมถึงสิทธิที่จะมีโอกาสหาเลี้ยงชีพจากงานที่ตนเลือกหรือรับอย่างเสรีโดย


               ปราศจากการเลือกปฏิบัติทุกชนิด โดยค�าว่า “บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิในการท�างาน”
               ในที่นี้หมายความถึงสิทธิในการเข้าถึงการจ้างงาน ตลอดจนมีอิสระในการท�างานโดย

               ปราศจากการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ ดังจะเห็นได้จากการที่คณะกรรมการว่าด้วย
               สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้อธิบายว่าบทบัญญัติมาตราดังกล่าว

               เรียกร้องมิให้รัฐสมาชิกการกระท�าการใด ๆ อันเป็นการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล
               ในการเข้าถึงการจ้างงานรวมทั้งการด�าเนินชีวิตในการท�างาน (Access to and

               Maintenance of Employment) ของบุคคล


                      นอกจากนั้น องคการสหประชาชาติยังให้การรับรองสิทธิของบุคคลในการได้รับ
               ผลประโยชนทางสังคมในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ สิทธิในประกันทางสังคม (Right to Social
               Security) โดยเป็นไปตามมาตรา 9 ของกติกาฯ ซึ่งบัญญัติว่า “รัฐภาคีแห่งกติกาฉบับนี้

               รับรองสิทธิของทุกคนในอันที่จะมีสวัสดิการทางสังคม รวมทั้งประกันสังคม” ตัวอย่างเช่น

               การได้รับสิทธิประโยชนจากการจ้างงาน การได้สิทธิลางานเพื่อคลอดบุตร สวัสดิการ
               ยามว่างงาน การประกันสุขภาพ การดูแลหรือได้รับสิทธิประโยชนด้านสุขภาพ สิทธิประโยชน
               ให้กับคู่สมรสหรือคู่ชีวิตในกรณีเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต การประกันสังคมในเรื่องอื่น ๆ ฯลฯ

               และสิทธิในมาตรฐานการครองชีพตามสมควร (Right to an adequate standard

               of living) โดยเป็นไปตามมาตรา 11 ของกติกาฯ ซึ่งบัญญัติว่า “รัฐภาคีแห่งกติกานี้
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53