Page 52 - kpiebook67026
P. 52
51
การด�ารงชีวิตโดยมีสุขภาพที่ดีและสามารถน�าข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการตัดสินใจ
และปกป้องตนเองและบุคคลอื่น ๆ จากการแพร่เชื้อที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ
ซึ่งผลดีของการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในเรื่องเพศวิถีของบุคคลยังมีส่วนส�าคัญยิ่งต่อ
การช่วยลดอคติของสังคมที่มีต่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมทั้งเป็น
การป้องกันมิให้เกิดการใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
ในสถาบันการศึกษาอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ รัฐสมาชิกจึงมีพันธกรณีในการสร้างหลักประกันความคุ้มครอง
สิทธิด้านการศึกษาของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศจากการเลือกปฏิบัติ
เพราะเหตุแห่งวิถีทางเพศและอัตลักษณทางเพศ โดยการห้ามมิให้น�าเรื่องวิถีทางเพศ
และอัตลักษณทางเพศมาใช้เป็นเหตุผลในการละเมิดสิทธิในการเข้าถึงและได้รับประโยชน
จากการศึกษา การห้ามละเมิดสิทธิในการศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายในเพศวิถี
ของมนุษย รวมถึงการห้ามใช้ความรุนแรงในสถาบันการศึกษา ซึ่งสิทธิดังกล่าวได้
ถูกรับรองไว้ในหลักการยอกยาการตาด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากหลักการข้อ 16
ซึ่งรับรองสิทธิในการศึกษาไว้ว่า “มนุษยทุกคนมีสิทธิด้านการศึกษาโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ
จากสาเหตุวิถีทางเพศและอัตลักษณทางเพศ และโดยให้ความค�านึงถึงด้านดังกล่าว”
2.2.3.5 เสรีภาพในการแสดงออก การก่อตั้งสมาคม และการชุมนุม
โดยสงบ
การใช้เสรีภาพในการแสดงออกทางเพศ (Freedom of Gender Expression)
นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการใช้เสรีภาพในการแสดงออกของบุคคลโดยแสดงออกผ่าน
ทางการแต่งกาย พฤติกรรม และวาจาของบุคคล ซึ่งการรับรองเสรีภาพในการแสดงออก
(Freedom of Expression) โดยองคการสหประชาชาติเป็นไปตามมาตรา 19 วรรคสอง
ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และการเมือง ปี ค.ศ. 1966 ซึ่งสิทธิ
ดังกล่าวหมายความรวมถึง สิทธิในการแสวงหาได้รับ และเปิดเผยข้อมูลรวมถึง
ความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าในรูปแบบใด เช่น ด้วยวาจา การเขียนหรือการพิมพ
ภาพวาด หรือสื่อสิ่งอื่นใด
ในทางปฏิบัตินั้น การใช้ในเสรีภาพในการแสดงออกมักถูกน�ามาใช้ร่วมกับ
เสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ (Freedom of Assembly) ตามมาตรา 21 ของกติกาฯ