Page 56 - kpiebook67026
P. 56
55
treatment and health care including when relevant, gender reassignment
surgery) และ (3) สร้างหลักประกันในการสมรสหรือการคงไว้ซึ่งสถานะของการสมรส
(ensure the right to marry or to stay married)
ดังนั้น การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในเรื่องอัตลักษณทางเพศในระดับสากล
ในหัวข้อนี้จึงขอจ�าแนกการศึกษาโดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ การรับรองสถานภาพ
ทางกฎหมายบนพื้นฐานของความหลากหลายในอัตลักษณทางเพศ และการคุ้มครองและ
ป้องกันการเลือกปฏิบัติจากความหลากหลายในอัตลักษณทางเพศ ซึ่งมีสาระส�าคัญ ดังนี้
2.3.1 การรับรองสถานภาพทางกฎหมายบนพื้นฐานของ
ความหลากหลายในอัตลักษณ์ทางเพศ
องคการสหประชาชาติได้วางแนวทางให้รัฐสมาชิกสร้างหลักประกันคุ้มครอง
สิทธิในการรับรองสถานภาพทางกฎหมายของบุคคลข้ามเพศและบุคคลอินเตอรเซ็ก
โดยรัฐสมาชิกต้องให้การรับรองอัตลักษณทางเพศตามความประสงคของบุคคลและ
ด�าเนินการต่าง ๆ โดยอนุญาตให้มีการออกเอกสารทางราชการ เพื่อแสดงถึงอัตลักษณ
ที่สอดคล้องกับเพศภาพ และชื่อของบุคคลโดยจะต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ในเรื่องอื่น ๆ ในที่นี้อาจแบ่งออกได้เป็น 2 เรื่องคือ สิทธิในการเปลี่ยนชื่อและเพศ
ในเอกสารทางราชการ และการห้ามก�าหนดเงื่อนไขที่มีลักษณะเป็นการละเมิด
สิทธิมนุษยชนในเรื่องอื่น ๆ เพื่อให้ได้การรับรองสถานภาพทางกฎหมาย
2.3.1.1 สิทธิในการเปลี่ยนชื่อและเพศในเอกสารทางราชการ
การรับรองอัตลักษณทางเพศตามกฎหมายของบุคคลข้ามเพศและบุคคล
อินเตอรเซ็กมีความสัมพันธเชื่อมโยงกับสิทธิในการเปลี่ยนชื่อและเพศในเอกสารทาง
ราชการ (Right to change name and indication of sex on official documents)
ซึ่งเกิดขึ้นจากการปรับใช้หลักสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของ
องคการสหประชาชาติ โดยได้วางแนวทางการคุ้มครองอ�านาจอิสระในการตัดสินใจ
และทางเลือกเกี่ยวกับอัตลักษณ (Identity) รวมถึงการแสดงออกซึ่งความเป็นตัวตน
ของบุคคลไว้ในคดี A.R. Coeriel and M.A.R. Aurik v. The Netherlands (1994)
โดยได้อธิบายว่า ความเป็นส่วนตัวของบุคคลหมายถึงพื้นที่ชีวิตของบุคคล (Sphere of
a Person’s Life) ซึ่งเขาหรือเธอเหล่านั้นมีเสรีภาพที่จะแสดงออกซึ่งความเป็นตัวตน