Page 61 - kpiebook67026
P. 61
60 ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์
2.3.2 การคุ้มครองและป้ องกันการเลือกปฏิบัติจาก
ความหลากหลายในอัตลักษณ์ทางเพศ
2.3.2.1 การท�างานและการได้รับผลประโยชน์ทางสังคม
องคการสหประชาชาติได้วางแนวทางการคุ้มครองสิทธิด้านการท�างานและ
การได้รับผลประโยชนทางสังคมของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศไว้ว่า
รัฐจะต้องไม่น�าเรื่องวิถีทางเพศและอัตลักษณทางเพศมาใช้เป็นเหตุในการเลือกปฏิบัติ
ต่อบุคคลในเรื่องการท�างาน การได้รับสวัสดิการทางสังคม รวมถึงการเข้าถึงสินค้า
และบริการส�าหรับการครองชีพที่มีมาตรฐานตามสมควร ในแง่นี้ กลุ่มบุคคลที่มี
ความหลากหลายทางเพศจึงมีสิทธิด้านการท�างานเช่นเดียวกับบุคคลอื่นทั่วไป
การวางหลักการห้ามเลือกปฏิบัติในเรื่องการท�างานขององคการสหประชาชาติ
ยังมีความสอดคล้องกับทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป ซึ่งพบว่าสภาแห่งยุโรปให้
การรับรองสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงสิทธิด้านการท�างานและการได้รับ
ผลประโยชนทางสังคมแก่กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศไว้ในกฎบัตรทางสังคม
แห่งยุโรปด้วยเช่นกัน อีกทั้งในค�าแนะน�าของคณะกรรมการรัฐมนตรีของสภาแห่งยุโรป
ได้ยืนยันว่า รัฐสมาชิกต้องให้การรับรองสิทธิในการท�างานแก่บุคคลทุกคนโดยปราศจาก
การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งวิถีทางเพศและอัตลักษณทางเพศ รวมถึงให้การคุ้มครอง
ความเป็นส่วนตัวของบุคคลข้ามเพศในการยื่นใบสมัครการท�างานและการเปิดเผย
อัตลักษณทางเพศที่แท้จริง ตัวอย่างเช่น กรณีการเข้ารับราชการทหาร (Military Service)
ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปได้มีค�าตัดสินในคดี Smith and Grady v United Kingdom
(1999) และคดี Lustig-Prean and Beckett v United Kingdom (1999) เคยวาง
หลักไว้ว่า การกีดกันมิให้บุคคลซึ่งเป็นชายรักชายหรือหญิงรักหญิงเข้าสู่กองทัพ
เป็นการเลือกปฏิบัติ และเป็นการละเมิดต่อสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลเหล่านั้น
นอกจากนั้นสภาแห่งยุโรปยังให้การรับรองสิทธิในที่อยู่อาศัยแก่บุคคลทุกคนโดยปราศจาก
การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งวิถีทางเพศและอัตลักษณทางเพศอีกด้วย ด้วยเหตุนี้
รัฐสมาชิกจึงมีพันธกรณีในการคุ้มครองสิทธิด้านการท�างานและการได้รับผลประโยชน
ทางสังคมของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ จากการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุ
แห่งวิถีทางเพศและอัตลักษณทางเพศ