Page 66 - kpiebook67026
P. 66

65



              เป็นเพศหญิงเรียบร้อยแล้ว ต่อมาผู้ร้องได้ยื่นค�าร้องเพื่อขอรับเงินค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ
              การแปลงเพศโดยใช้วิธีการรักษาด้วยฮอรโมน (Hormone) และการผ่าตัดแปลงเพศ

              (Surgery) ต่อบริษัทประกันสุขภาพของเอกชนแห่งหนึ่ง แต่บริษัทประกันสุขภาพเอกชน
              แห่งนี้ได้ปฏิเสธที่จะจ่ายเงินแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงได้น�าเรื่องนี้มายื่นฟ้องต่อศาลในประเทศ

              สหพันธรัฐเยอรมนี แต่ศาลก็ปฏิเสธสิทธิของผู้ร้องอีกเช่นกันโดยให้เหตุผลว่าการรักษา
              ด้วยวิธีการใช้ฮอรโมนและการผ่าตัดแปลงเพศเป็นสิ่งที่ไม่มีความจ�าเป็นในทางการแพทย

              และถือเป็นข้อยกเว้นที่บริษัทประกันไม่ต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่ผู้ร้อง
              ต้องการ ต่อมา ผู้ร้องจึงยื่นค�าร้องต่อศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป โดยอ้างว่าค�าพิพากษา

              ของศาลละเมิดสิทธิในชีวิตส่วนตัวของผู้ร้องตามบทบัญญัติมาตรา 8 ของอนุสัญญาว่า
              ด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป


                      ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปในคดีนี้ ได้อ้างอิงถึงแนวค�าตัดสินในคดี Goodwin
              โดยศาลเห็นว่า การแปลงเพศเป็นวิธีการรักษาบุคคลในทางการแพทยอย่างหนึ่ง

              ซึ่งเป็นที่ยอมรับในทางระหว่างประเทศ โดยประเด็นส�าคัญที่ต้องพิจารณาในคดีนี้คือ
              ศาลในประเทศสหพันธรัฐเยอรมนีได้ใช้เงื่อนไขดังกล่าวในการพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิ

              ของผู้ร้องที่ได้รับช�าระเงินค่าใช้จ่ายคืนจากการที่เสียไปกับการดูแลรักษาสุขภาพหรือไม่
              เมื่อศาลได้พิจารณาแล้วจึงเห็นว่า กรณีนี้มิใช่ประเด็นนี้ที่จะต้องพิจารณาว่ากรณี

              จะเกิดอะไรขึ้นหากผู้ร้องไม่ได้รับการช�าระเงินค่าใช้จ่ายคืน แต่เป็นประเด็นเรื่อง
              ผลจากค�าพิพากษาของศาลในประเทศสหพันธรัฐเยอรมนีได้ส่งผลกระทบต่อสิทธิ

              ในความเป็นส่วนตัวของผู้ร้องตามมาตรา 8 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
              แห่งยุโรปหรือไม่ เนื่องจากอ�านาจในการก�าหนดชะตาชีวิตของตนเองในเรื่องเพศ

              ถือเป็นสิทธิส่วนตัวอย่างหนึ่งของบุคคลที่มีความส�าคัญ และศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป
              เห็นว่า การตัดสินคดีของศาลในประเทศสหพันธรัฐเยอรมนีละเมิดสิทธิส่วนตัวของผู้ร้อง

              ทั้งนี้ด้วยเหตุผลส�าคัญ 2 ประการคือ

                      ประการแรก ศาลได้เพิกเฉยต่อค�าแนะน�าของผู้เชี่ยวชาญที่เสนอมาตรการ

              ที่จ�าเป็นส�าหรับพิจารณาเรื่องดังกล่าว โดยไม่ให้ความส�าคัญกับความรู้ในทางการแพทย
              และยังกล่าวหาว่าผู้ร้องจงใจที่จะท�าให้ตนเองกลายเป็นบุคคลแปลงเพศ ศาลสิทธิมนุษยชน

              แห่งยุโรปจึงเห็นว่า การสรุปข้อเท็จจริงในคดีนี้มีปัญหาเนื่องจากเป็นการตั้งสมมติฐาน
              จากพฤติกรรมของบุคคลเพศชายและเพศหญิงโดยทั่วไป อีกทั้งยังเรียกร้องให้ผู้ร้องต้อง

              พิสูจนว่าตนมีความจ�าเป็นต้องท�าการรักษาร่างกายอันเนื่องจากการเป็นโรค ซึ่งผู้ร้อง
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71