Page 67 - kpiebook67026
P. 67

66     ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์



            ไม่เพียงแต่จะต้องพิสูจนว่าได้ท�าการรักษาโดยวิธีการใช้ฮอรโมนและการผ่าตัดเท่านั้น
            แต่ยังต้องแสดงให้ศาลเห็นถึงลักษณะพันธุกรรมของการเป็นบุคคลแปลงเพศของผู้ร้อง

            อีกด้วย ซึ่งศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปเห็นว่าการที่ศาลเยอรมันก�าหนดให้ผู้ร้องมีภาระ
            การพิสูจนเกี่ยวกับความจ�าเป็นในการรักษาทางการแพทยเป็นสิ่งที่ไม่มีความเหมาะสม

            และไม่เป็นการเคารพต่อชีวิตส่วนตัวของผู้ร้องซึ่งเป็นการละเมิดมาตรา 8 ของอนุสัญญา
            ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป


                   ประการที่สอง สิ่งที่น่าสนใจคดีนี้คือ ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปไม่ได้วางหลัก
            เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการแปลงเพศของผู้ร้องว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่อยู่ในความรับผิด

            ของบริษัทประกันสุขภาพของเอกชนหรือรัฐและจะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 8
            ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปด้วยหรือไม่ เพียงแต่ศาลได้วางหลักว่า

            กรณีนี้ไม่ว่าผู้ร้องจะได้รับเงินค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการแปลงเพศคืนจากบริษัทของเอกชน
            หรือไม่ก็ตาม ค�าพิพากษาของศาลในประเทศสหพันธรัฐเยอรมนีย่อมส่งผลกระทบต่อ

            สิทธิของผู้ร้องในลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวซึ่งได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 8

            ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปในตัวอยู่แล้ว ซึ่งอาจกล่าวต่อไปได้ว่า
            บริษัทประกันสุขภาพควรช�าระเงินค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการแปลงเพศคืนแก่ผู้ร้อง เพราะ
            แม้ว่าการช�าระเงินค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการแปลงเพศจะไม่ใช่สิทธิที่อยู่ภายใต้บทบัญญัติ

            มาตรา 8 ของอนุสัญญาก็ตาม แต่การที่บริษัทมีหน้าที่ต้องช�าระเงินค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ
            การแปลงเพศถือเป็นผลโดยตรงมาจากการรับรองสิทธิในการก�าหนดชะตาชีวิตในทางเพศ

            ของบุคคลตามค�าตัดสินของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปนั่นเอง

                   ต่อมาในปี ค.ศ. 2009 ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปได้มีค�าวินิจฉัยใน

            Schlumpf v. Switzerland (2009) ซึ่งมีข้อเท็จจริงว่า คดีนี้ผู้ร้องได้ผ่านการแปลงเพศ
            จากชายเป็นเพศหญิง ต่อมาผู้ร้องได้ยื่นค�าร้องเพื่อขอรับเงินค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการแปลงเพศ

            โดยวิธีการผ่าตัดแปลงเพศคืนจากบริษัทประกันสุขภาพเอกชนแห่งหนึ่ง แต่บริษัทประกัน
            สุขภาพได้ปฏิเสธไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงน�าคดีมาฟ้องศาล ซึ่งศาลสูงสุดของ

            ประเทศสวิตเซอรแลนด (the Swiss High Court) พิจารณาแล้วเห็นว่า บริษัทประกัน
            สุขภาพมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเกี่ยวกับการผ่าตัดแปลงเพศของบุคคลก็ต่อเมื่อเป็นกรณีของ

            การแปลงเพศอย่างแท้จริง (true transsexualism) ซึ่งค�าว่า True transsexualism
            หมายความว่า การเข้าสู่กระบวนการแปลงเพศ บุคคลนั้นต้องผ่านการตรวจสอบโดยวิธี
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72