Page 60 - kpiebook67026
P. 60
59
สมรส เป็นต้น ซึ่งในเรื่องนี้ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปเคยมีค�าตัดสินว่า การที่รัฐสมาชิก
ก�าหนดเงื่อนไขเรื่องการหย่าร้างก่อนการรับรองอัตลักษณทางเพศตามกฎหมายของ
บุคคลข้ามเพศ เป็นเงื่อนไขที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งค�าตัดสินดังกล่าวส่งผลท�าให้บุคคล
ข้ามเพศต้องเกิดความลังเลใจเนื่องจากเขาเหล่านั้นต้องตัดสินใจเลือกระหว่างการรับรอง
เพศใหม่หรือยังคงไว้ซึ่งสถานะสมรสที่ตนมีอยู่ ในขณะที่องคการสหประชาชาติยังไม่มี
การวางแนวทางในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาสาระส�าคัญ
ในหลักการยอกยาการตาจะพบว่าเงื่อนไขต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้นล้วนเป็น
ข้อห้ามมิให้น�ามาใช้เป็นเงื่อนไขของการรับรองอัตลักษณทางเพศตามกฎหมายของ
กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศทั้งสิ้น
ดังจะเห็นได้จากข้อ 3 ของหลักการยอกยาการตาฉบับปี ค.ศ. 2007 ซึ่งบัญญัติ
ว่า “...ห้ามมิให้มีการบีบบังคับผู้ใดให้รับกระบวนการทางการแพทย์ รวมถึงการผ่าตัด
แปลงเพศ การท�าหมัน หรือการรักษาด้วยฮอร์โมน เพราะเป็นเงื่อนไขเพื่อให้ได้
การรับรองอัตลักษณ์ทางเพศตามกฎหมาย ต้องไม่มีการน�าเอาสถานะอื่น ๆ เช่น
การเป็นคู่สมรส หรือบุพการีมาใช้อ้างเพื่อกีดกันมิให้อัตลักษณ์ทางเพศของบุคคลใด
บุคคลหนึ่งได้รับการรับรองตามกฎหมาย ต้องมิให้ผู้ใดถูกกดดันให้ต้องปิดบังเก็บระงับ
หรือปฏิเสธวิถีทางเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศของตน”
นอกจากนั้น ยังเป็นไปตามข้อ 32 ของหลักการยอกยาการตาฉบับปี ค.ศ. 2017
ซึ่งบัญญัติว่า “บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิในร่างกายและจิตใจอย่างสมบูรณ์ รวมถึงมีอ�านาจ
อิสระและสามารถก�าหนดเจตจ�านงของตนเองโดยปราศจากการค�านึงถึงวิถีทางเพศ
อัตลักษณ์ทางเพศ การแสดงออกทางเพศ หรือคุณลักษณะทางเพศของบุคคลนั้น
นอกจากนั้น บุคคลย่อมมีสิทธิในเสรีภาพจากการถูกกระท�าทรมาน และการปฏิบัติ
หรือลงโทษในลักษณะทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือการลงโทษบุคคลเพราะเหตุ
แห่งวิถีทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ การแสดงออกทางเพศ หรือคุณลักษณะทางเพศ
ของบุคคลนั้น โดยจะต้องไม่มีบุคคลใดถูกแทรกแซงหรือไม่อาจเปลี่ยนแปลงกลับไป
เป็นเพศเดิมได้ด้วยวิธีการรักษาทางการแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนเพศของตนเองใหม่
โดยปราศจากอ�านาจตัดสินใจอย่างอิสระและได้รับความยินยอมจากบุคคลนั้นเสียก่อน
เว้นเสียแต่จะมีเหตุอันจ�าเป็นและเร่งด่วนอย่างยิ่งเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่ไม่อาจแก้ไข
ได้ที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลนั้น”