Page 187 - kpiebook67026
P. 187
186 ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์
5.2 ข้อเสนอแนะต่อการจัดท�ากฎหมายรับรองเพศ
สภาพในประเทศไทย
5.2.1 ข้อเสนอแนะเชิงประเด็นทางกฎหมายในการรับรอง
เพศสภาพ
ส�าหรับแนวทางการตรากฎหมายรับรองเพศสภาพในประเทศไทยนั้น ผลจาก
การศึกษาเปรียบเทียบประเด็นทางกฎหมายในประเทศอารเจนตินา ประเทศมอลตา และ
ประเทศไอซแลนด คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะต่อการจัดท�ากฎหมายรับรองเพศสภาพ
ในประเทศไทยว่าสมควรก�าหนดประเด็นส�าคัญในเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้ให้เป็นส่วนหนึ่ง
ของกฎหมายรับรองเพศสภาพ กล่าวคือ
(1) ประเด็นเรื่องวัตถุประสงค์และขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย
ในการจัดท�ากฎหมายรับรองเพศสภาพของประเทศไทย จะต้องมีการระบุ
วัตถุประสงคและขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายให้มีความชัดเจน กล่าวคือ กฎหมาย
ฉบับนี้จะต้องมีวัตถุประสงคเพื่อให้การรับรองเพศภาพของบุคคลบนพื้นฐานของ
การก�าหนดเจตจ�านงโดยอิสระของบุคคลนั้น และสร้างหลักประกันในการรับรอง
สิทธิในอัตลักษณทางเพศของบุคคล ตลอดจนครอบคลุมถึงการคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับความสมบูรณในร่างกายของบุคคล ตลอดจนก�าหนดนิยามศัพท
ที่จ�าเป็นต่อการใช้และการตีความเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงคของกฎหมาย โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งนิยามศัพทที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศ ซึ่งได้แก่ เพศสภาพ
(gender identity) การแสดงออกทางเพศ (gender expression) อัตลักษณทางเพศ
(gender identity) และคุณลักษณะทางเพศ (sex characteristics)
ทั้งนี้ กลุ่มบุคคลที่จะอยู่ในบังคับของกฎหมายฉบับนี้ จะครอบคลุมถึงบุคคล
ที่มีอัตลักษณทางเพศสภาพ การแสดงออกทางเพศสภาพ และคุณลักษณะทางเพศ
ที่ไม่สอดคล้องกับบรรทัดฐานของสังคม ซึ่งไม่อาจได้รับการรับรองเพศสภาพตามเจตจ�านง
ของตนเองได้ ได้แก่ บุคคลข้ามเพศ (Transgender) บุคคลอินเตอรเซ็ก (Intersex)
รวมถึงบุคคลที่นิยามตนไม่อยู่ในระบบสองเพศหรือบุคคลนอนไบนารี่ (Non-binary)