Page 188 - kpiebook67026
P. 188
187
(2) ประเด็นเรื่องหลักการและเงื่อนไขในการรับรองเพศสภาพ
ในการจัดท�ากฎหมายรับรองเพศสภาพของประเทศไทย จะต้องมีการบัญญัติ
รับรองสิทธิในอัตลักษณทางเพศสภาพ (right to gender identity) ของบุคคล
ซึ่งครอบคลุมสิทธิต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สิทธิในการรับรองอัตลักษณทางเพศสภาพ
สิทธิในการพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับอัตลักษณทางเพศสภาพของบุคคลนั้น
สิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติตามเพศสภาพที่บุคคลนั้นด�ารงอยู่ สิทธิในความสมบูรณร่างกาย
รวมถึงอ�านาจอิสระในการก�าหนดตนเองเพื่อเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะทางเพศ เป็นต้น
ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะต้องไม่มีการบังคับให้บุคคลท�าการพิสูจนเพศสภาพ
ด้วยกระบวนการรักษาทางแพทยโดยใช้ขั้นตอนการผ่าตัดอวัยวะเพศทั้งหมดหรือ
บางส่วน การโอนย้าย การรักษาด้วยฮอรโมน หรือการรักษาทางจิตหรือทางการแพทย
อื่นใด
(3) ประเด็นเรื่องหลักเกณฑ์และกระบวนการรับรองเพศสภาพ
ในการจัดท�ากฎหมายรับรองเพศสภาพของประเทศไทยจะต้องมีการบัญญัติ
เกี่ยวกับหลักเกณฑและกระบวนการรับรองเพศสภาพ โดยหลักเกณฑส�าคัญที่จะต้อง
มีการบัญญัติถึงคือ หลักเกณฑเรื่องอายุของบุคคลที่จะสามารถใช้สิทธิในการก�าหนด
อัตลักษณทางเพศสภาพของตนเองได้ กระบวนการยื่นและหลักเกณฑพิจารณาค�าขอ
ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะของบุคคล เช่น กระบวนการและหลักเกณฑ
พิจารณาค�าขอของบุคคลที่เป็นเด็กอินเตอรเซ็ก หรือในกรณีของบุคคลที่มีสัญชาติไทย
ที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ หรือการยอมรับผลของการรับรองเพศสภาพของบุคคล
ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศให้มีผลในประเทศไทย เป็นต้น ตลอดจนหลักเกณฑในการใช้
สิทธิอุทธรณหากค�าขอนั้นไม่ได้รับการพิจารณา
(4) ประเด็นเรื่องผลในทางกฎหมายของการรับรองเพศสภาพ
ในการจัดท�ากฎหมายรับรองเพศสภาพของประเทศไทยจะต้องมีการบัญญัติ
เกี่ยวกับผลในทางกฎหมายของการรับรองเพศสภาพโดยจะต้องครอบคลุมถึงเรื่อง
ผลของการระบุเพศสภาพในเอกสารทางราชการตลอดจนเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับการแสดงออกถึงตัวตนของบุคคลนั้น โดยใช้ค�าว่า เพศชาย (male) หรือเพศ