Page 192 - kpiebook67026
P. 192
191
(3) ประเด็นการน�ากฎหมายไปปฏิบัติ
เนื่องจากกฎหมายนี้ มีเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางความคิด
ของสังคม และโครงสร้างการบริการภาครัฐ ภาคเอกชน โครงสร้างสวัสดิการภาครัฐ
ดังนั้นหากกฎหมายมีผลบังคับใช้จึงจ�าเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐ และภาคเอกชนจ�าเป็น
ต้องมีนโยบายที่ชัดเจน เป็นรูปธรรมในการปรับเปลี่ยน ปรับปรุง หรือสร้างสรรคระบบ
บริการ ระบบสวัสดิการให้สอดคล้องไปกับสาระส�าคัญของกฎหมาย ซึ่งจ�าเป็นอย่างยิ่ง
ที่ต้องมีระบบจัดเก็บข้อมูลเพื่อการทบทวน ประเมินผลการด�าเนินการตามกฎหมาย
เพื่อใช้ในการปรับปรุงกฎหมายในอนาคต
นอกจากนี้ภาครัฐ และภาคเอกชนต้องเปิดโอกาส เปิดพื้นที่และความไว้วางใจ
ซึ่งกันและกันกับภาคประชาสังคมในการเข้ามาเป็นภาคีในการช่วยเหลือ สนับสนุน หรือ
เป็นพี่เลี้ยงในช่วงระยะแรกของการปรับเปลี่ยน ปรับปรุง หรือสร้างสรรคระบบบริการ
ระบบสวัสดิการให้สอดคล้องไปกับสาระส�าคัญของกฎหมาย เนื่องจากภาคประชาสังคม
เป็นภาคีที่ส�าคัญที่มีประสบการณในการด�าเนินงานด้านสิทธิทางเพศ หรือความเท่าเทียม
ทางเพศ ย่อมท�าให้การน�ากฎหมายไปปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนอง
จุดมุ่งหมายของกฎหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม
(4) ประเด็นการศึกษาวิจัย
เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้เป้าหมายในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางความคิด
ของสังคม และโครงสร้างการบริการภาครัฐ ภาคเอกชน โครงสร้างสวัสดิการภาครัฐ
ดังนั้นภาควิชาการและภาคประชาสังคม จึงมีส่วนส�าคัญอย่างยิ่งในการท�าหน้าที่
ในการศึกษา วิจัย และเสนอแนะต่อการด�าเนินการต่าง ๆ ของกฎหมายนี้ เพื่อลด
ข้อติดขัดของการด�าเนินงานตามกฎหมายของภาครัฐและภาคเอกชน และยังเป็นภาคี
ที่ส�าคัญที่ช่วยประเมินสมรรถะ และผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อน�าไปสู่
การปรับปรุงกฎหมาย และถอดบทเรียนให้กับต่างประเทศต่อไป