Page 190 - kpiebook67026
P. 190

189



               การคุ้มครองอัตลักษณทางเพศสภาพของบุคคลโดยจะต้องบัญญัติรับรองให้บุคคลทุกคน
               จะได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย ตลอดจนในการบังคับใช้กฎเกณฑ

               ข้อบังคับ รวมถึงกระบวนการที่มีอยู่จะต้องให้ความเคารพต่อสิทธิในอัตลักษณ
              ทางเพศสภาพของบุคคล อีกทั้งจะต้องห้ามมิให้น�ากฎเกณฑ ข้อบังคับ รวมถึง

              กระบวนการที่มีอยู่มาใช้ในลักษณะจ�ากัด กีดกัน หรือท�าให้การบังคับใช้สิทธิใน
               อัตลักษณทางเพศสภาพของบุคคลต้องเสื่อมถอยลง และกฎเกณฑทุกประการจะต้อง

               ถูกน�าไปใช้ในลักษณะของการตีความ และบังคับใช้เพื่ออ�านวยให้เกิดการเข้าถึงสิทธิ
               ในอัตลักษณทางเพศสภาพของบุคคลด้วย


                      ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะต้องถูกน�าไปใช้บังคับภาคเอกชน รวมถึงหน่วยงาน
               และเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีหน้าที่จัดท�าบริการสาธารณะทั้งหลาย ตลอดจนเจ้าหน้าที่

               และผู้มีอ�านาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลหรือจัดเก็บข้อมูล
               เกี่ยวกับเพศของบุคคล  และเพื่อเป็นการสร้างหลักประกันในการบังคับใช้กฎหมาย

               จะต้องมีการก�าหนดกรอบระยะเวลาในการจัดท�ากฎหมาย กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
               ตลอดจนการแก้ไขแบบฟอรมต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับมาตรฐานใหม่

               ที่ถูกก�าหนดขึ้นโดยกฎหมายรับรองเพศสภาพฉบับนี้



                     5.2.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อน

                     กฎหมายรับรองเพศสภาพ

                      (1) ประเด็นการขับเคลื่อนเชิงแนวคิด


                      จากบทเรียนของต่างประเทศ ท�าให้ในบริบทสังคมไทยจ�าเป็นต้องตกผลึก
               และก�าหนดเป้าหมาย กระบวนการ และผลลัพธจากการขับเคลื่อนกฎหมายฉบับนี้

               ให้ชัดเจนในหลากหลายประเด็น ได้แก่ หลักการของกฎหมายที่ก�าลังสร้างแนวคิดใหม่
               ให้กับสังคมในการให้ความส�าคัญกับการแสดงเจตจ�านงในการนิยามตนเองมากกว่า

               ค�าวินิจฉัย ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ กระบวนการต่าง ๆ ทางการแพทย หรือผู้มีอ�านาจ
               ตามกฎหมาย ซึ่งจะส่งผลต่อการสื่อสารและรับรู้ของคนทั่วไปในสังคม และอาจส่งผล

               ต่อเนื่องไปยังกฎหมาย นโยบายอื่น ๆ ของสังคมที่ต้องให้ความส�าคัญกับการแสดง
               เจตจ�านงในการนิยามตนเอง เช่น กฎหมายสมรสเท่าเทียม กฎหมายแก้ไขกฎหมาย

               การปราบปรามการค้าประเวณี กฎหมายการุณยฆาต เป็นต้น
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195